วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

10 ส่วนผสมอันตรายจากยาสีฟัน

             แปรงฟันกันอยู่ทุกวี่ทุกวันเคยสงสัยกันบ้างไหมค่ะว่าในยาสีฟันรสเย็นมันมีอะไรเป็นส่วนประกอบอยู่บ้าง ได้ไปสืบรู้มาว่า แต่ละอย่างที่อยู่ในยาสีฟันมันเป็นสารก่ออันตรายทั้งนั้น จะมีสารอะไรบ้างแล้วมันจะเกิดข้างเคียงอะไรกับช่องปากเรามาอ่านกันด่วนๆเลยนะค่ะ
1. menthol การบูร สาระแน่เกล็ด นิยมใช้เป็นสารแต่งกลิ่น รส ในยากิน ยาอม บรรเทาอาการคัดจมูกหรือหายใจไม่สะดวก หรือทำให้รู้สึกเย็นสบาย หากกลืนหรือกินเข้าไปปริมาณเล็กน้อย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปเป็นจำนวนมากอาจเป็นอันตรายได้ แต่ละสารเคมีที่ผสมเข้าไปนี่น่ากลัว แบบไม่ธรรมดา จริงๆค่ะ

2.Saccharin ขันทสกร สารให้ความหวาน หรือที่เรารู้จักกันใน ชื่อขันทสกร เด็กๆหลายคนอาจชอบที่ยาสีฟันมีรสหวาน น่าทานแต่ในอดีต Saccharin เคยถูกงดใช้ไปหลายครั้ง

3.Titanium Dioxide ไทเทเนียมไดออกไซด์ นี่ถือเป็นส่วนประกอบทั่วไปของยาสีฟัน สีขาวของยาสีฟันนั้นทำมาจาก Titanium Dioxide เป็นหนึ่งใน50 ชนิดของสารที่ผลิตมากที่สุดทั่วโลก ไม่ก่อโรคมะเร็งไม่เป็นอันตรายต่อผู้มีครรภ์ไม่มีพิษ ปลอดภัยกับฟันของคุณ แต่เราไม่ควรไว้วางใจกับสารชนิดนี้
4.Chalk ชอกค์ มันคือชอกค์ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันที่โรงเรียนนั่นเอง ที่ยาสีฟันมีสีขาว เพราะส่วนผสมหลักจากผงชอกค์ บดละเอียดเนื่องจากชอกค์มีส่วนผสมของแคลเซียมและหินปูน การสูบดมในระยะยาว จะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง หลอดลมอักเสบ
5.Glycerine Glycol ไกลคอลกลีเซอรีน เคยได้ยินส่วนนี้อยู่ในแปรงสีฟันไหมจะบอกให้ว่ามันส่วนประกอบของยาสีฟันน้ำยาบ้วนปากครีมดูแลผิว ครีมโกนหนวด มีเพื่อไม่ให้ตัวยาสีฟันแห้งมากเกินไป ทำให้เกิดโรคอาการคลื่นไส้ เมื่อเรากลืนยาสีฟันเข้าไป
6.Paraffin พาราฟิน ใช้ประโยชน์ได้มากมายใช้เป็นยารักษาโรคหรือทำเชื้อเพลิง โดยสารนี้มีคุณสมบัติใช้ทำเทียนไข โดยใช้เคลือบผิวเพื่อความชุ่มชื่นช่วยกระจัดคราบสกปรกถ้ากลืนเข้าไปจะทำให้คลืนไส้อาเจียน และท้องผูกอย่างรุนแรงได้
7.Peppermint Oil น้ำมันสาระแหน่ ยาสีฟันจะมีกลิ่นหอมของมิ้นต์เป็นการเติมแต่งกลิ่นทำให้ยาสีฟันมีรสชาติดีขึ้นนอกจากนี้ทำให้เกิดกลิ่นหอมเย็นเมื่อสูดดมทำให้โล่งจมูกรู้สึกสดชื่นอีกครั้ง ยังช่วยฆ่าเชื้อโรค ส่วนอันตราย คือทำให้ระคายเคืองผิวหน้งและชีพจรปั่นป่วน ดังนั้นเขามักจะใส่ส่วนผสมตัวนี้ในปริมาณเข้มข้นต่ำ
8.Seaweed สาหร่ายทะเล สารตัวนี้ไม่เป็นอันตรายสาหร่ายทะเลทำให้ส่วนผสมก่อตัวกันเกิดความลื่นไหลและยืดขยายเป็นเจลเข้าปากปัจจุบันมียาสีฟันหลายยี่ห้อมาเป็นส่วนประกอบเพื่อคุณสมบัติต่างๆเช่น ช่วยข้ดฟันให้ขาว ช่วยให้ฟันแข็งแรง หรือกินชูชิสาหร่ายก็ช่วยได้นะค่ะ
9.Detergent ผงซักฟอก ถ้ายาสีฟันไม่มีฟองจะแปรงกันอยู่หรือไม่ผงซักฟอกเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้เกิดฟอง ช่วยทำความสะอาดช่องปาก ถ้ากลืนเข้าไปจะมีผลต่อกระเพาะอาหารค่ะ
10.Formaldehyde ฟอร์มาลดีไฮด์ ส่วนผสมนี้ยาสีฟันทุกยี่ห้อจะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคพวกแบคทีเรียในช่องปาก หลังจากที่คุณทานอาหารเสร็จและระหว่างที่นอนหลับและใครกินส่วนผสมนี้ลงไปก็จะมีอาการตัวเหลือง ตับไตพัง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ที่มา : หนังสือSPICY

สมุนไพร ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรบำบัดโรค

    สมุนไพรแม้จะเป็นสิ่งที่มาจากธรรมชาติ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีอันตรายร้ายแรงเกิดขึ้น เพราะที่สุดแล้วหากใช้ไม่ถูกต้อง ใช้ไม่ถูกกับอาการ ไม่ถูกกับโรค ปริมาณขนาดที่ใช้ไม่เหมาะสม หรือใช้กับผู้ที่แพ้สมุนไพรบางชนิด ก็อาจเกิดอันตรายที่คาดไม่ถึงได้เช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการใช้สมุนไพรบำบัดโรค จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรนั้นๆ ก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนั้น การนำสมุนไพรมาใช้เป็นยา ยังต้องคำนึงถึงรายละเอียดอื่นๆ อีกด้วย เช่น ธรรมชาติของสมุนไพรแต่ละชนิด สายพันธุ์ สภาวะแวดล้อมในการปลูก ฤดูกาล และช่วงเวลาเก็บ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการออกฤทธิ์ในการรักษาโรค ซึ่งหากทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ คุณภาพของยาสมุนไพรนั้นๆ ก็จะด้อยประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าต้องการใช้สมุนไพรอย่างให้ได้ผลดีที่สุด ก็ต้องใช้อย่างมีความรู้ โดยยึดหลักดังต่อไปนี้ คือ

๑. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรส่วนใหญ่มีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากแล้ว แต่ละท้องถิ่นก็อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน ทั้งๆ ที่เป็นพืชชนิดเดียวกัน หรือบางครั้งชื่อเหมือนกัน แต่เป็นพืชคนละชนิด เพราะฉะนั้นจะใช้สมุนไพรอะไรก็ต้องใช้ให้ถูกต้นจริงๆ ดังเช่นกรณีของหญ้าปักกิ่งที่ยกตัวอย่างข้างต้นที่นำหญ้าชนิดอื่นมาขายคนที่ไม่รู้จัก

๒. ใช้ถูกส่วน พืชสมุนไพรไม่ว่าราก ดอก ใบ เปลือก ผล หรือเมล็ด จะมีฤทธิ์ในการรักษาหรือบำบัดโรคไม่เท่ากัน แม้กระทั่งผลอ่อน หรือผลแก่ก็มีฤทธิ์แตกต่างกัน ดังนั้น การนำมาใช้ก็ต้องมีความรู้จริงๆ

๓. ใช้ให้ถูกขนาด ธรรมชาติของยาสมุนไพร คือ หากใช้น้อยไป ก็จะรักษาไม่ได้ผล แต่ถ้าใช้มากไปก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่นกัน

๔. ต้องใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรที่จะนำมาใช้ บางชนิดต้องใช้ต้นสด บางชนิดต้องผสมกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มหรือชง ซึ่งหากใช้ไม่ถูกต้องก็ไม่เกิดผลในการรักษา

๕. ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น มีอาการท้องผูก ก็ต้องใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ถ้าไปใช้สมุนไพรที่มีรสฝาด จะทำให้ท้องยิ่งผูกมากขึ้น

อาการแพ้ยาสมุนไพร

      ในบางครั้งถึงแม้จะใช้สมุนไพรอย่างถูกต้องตามที่แนะนำกันแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดอาการแพ้ เพราะโดยธรรมชาติร่างกายของแต่ละคนจะมีภูมิต้านทานที่ไม่เท่ากัน บางคนให้ยาสมุนไพรแล้วได้ผลดี แต่พอแนะนำให้ผู้อื่นใช้ตาม บางกรณีนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังเกิดอาการแพ้อีกด้วย ดังนั้นหากใช้ยาแล้วเกิดอาการผิดปกติ ควรหยุดใช้ ถ้าหยุดใช้ยาแล้วอาการหายไป อาจลองใช้ยานั้นดูอีกครั้งด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้น หากมีอาการเช่นเดิมก็พอจะสรุปได้ว่าเกิดจากพิษของ ยาสมุนไพร อาการที่น่าสงสัยว่าจะเกิดจากการแพ้สมุนไพร อาจมีเพียงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีหลายอาการร่วมกัน เช่น มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งอาจเป็นตุ่มเล็กๆ หรือตุ่มโตเป็นปื้น หรือเป็นเม็ดแบบคล้ายลมพิษ ตาอาจบวมปิด ริมฝีปากเจ่อ หรือผิวหนังเป็นดวงสีแดงๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง หูอื้อ ตามัว ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง ประสาทรับรู้ความรู้สึกทำงานผิดปกติ เช่น เพียงแตะผิวหนังก็เสียว รู้สึกเจ็บ ลูบผมก็มีอาการเสียวศีรษะ มีอาการใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้นและเป็นบ่อยๆ หรือหากมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลืองร่วมด้วย แสดงว่ามีภาวะตับอักเสบแทรกซ้อน ถ้ากินยาสมุนไพรแล้วมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น ก็ควรจะหยุดกิน และปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
อาการและโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพร
เนื่องจากยาสมุนไพรเป็นยาที่ออกฤทธิ์แบบค่อยเป็นค่อยไป และต้องใช้เวลาพอสมควร ดังนั้นหากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง (เช่น มะเร็ง โรคเอดส์ บาดทะยัก ดีซ่าน) โรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ) โรคติดเชื้อต่างๆ (เช่น ปอดบวม ไข้ไทฟอยด์ มาลาเรีย วัณโรค กามโรค) เป็นโรคบางอย่างที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าสามารถรักษาได้ด้วยสมุนไพรอย่างชัดเจน ก็ไม่ควรที่จะเลือกใช้ยาสมุนไพร นอกจากนี้ หากมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้องรุนแรง อาเจียนรุนแรง ไอ เป็นเลือด ถ่ายเป็น มูกเลือด ชัก หอบ ตกเลือด ถูกงูพิษกัด เป็นต้น อาการเหล่านี้ไม่ควรใช้ยาสมุนไพร แต่ควรจะไปพบแพทย์ โดยเร็วที่สุด

ข้อดีของยาสมุนไพร
๑. ปลอดภัย สมุนไพรส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์อ่อนๆ จึงไม่ค่อยเป็นพิษ หรือมีผลข้างเคียงมาก ต่างกับยาแผนปัจจุบันที่เป็นเคมีสังเคราะห์ ที่มักจะออกฤทธิ์ฉับพลัน บางชนิดหากกินเกินขนาดเพียงเล็กน้อย อาจมีอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้

๒. ประหยัด ยาสมุนไพรโดยทั่วไปมีราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบันมาก แล้วสมุนไพรหลายชนิดก็สามารถปลูกใช้เองได้ในครอบครัว ทำให้ช่วยประหยัดรายจ่ายไปได้อีกทางหนึ่ง

๓. ช่วยบรรเทาอาการในขั้นต้น ผู้ป่วยที่อยู่ในชนบทห่างไกล บางครั้งไม่สามารถมารับบริการทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ ก็อาจจะใช้สมุนไพรซึ่งเป็นยาแผนโบราณหลายชนิด และบางชนิดก็เป็นทั้งอาหารและยาอยู่ในตัว บำบัดอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ไปก่อนได้

๔. ช่วยทดแทนยาจากต่างประเทศ ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้ายาจากต่างประเทศเป็นมูลค่านับหมื่นล้าน ในขณะที่เรามีสมุนไพรมากมาย ที่สามารถทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันได้ หากมีการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากล ก็จะช่วยลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศได้อย่างมหาศาล

ข้อเสียของการใช้สมุนไพร
๑. ใช้ไม่สะดวก บางครั้งการใช้ยาสมุนไพรในรูปยาตำรับรักษาโรคบางอย่าง อาจเสียเวลาในการเตรียม เช่น ยาหม้อ ที่จะต้องอุ่นทุกเช้าและเย็น ทำให้ไม่สะดวกที่จะกิน อีกทั้งยังยุ่งยากและเสียเวลา (สำหรับคนที่ต้องทำงานนอกบ้าน)

๒. ฤทธิ์ยาไม่แน่นอน อย่างที่ทราบกันแล้วว่ายาสมุนไพรมักมีรสอ่อน ออกฤทธิ์ช้า ต้องกินเป็นเวลานาน และเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันสมุนไพรแต่ละอย่างก็จะมีสารสำคัญหลายตัว บางครั้งจึงทำให้ฤทธิ์ที่ต้านกันเองได้

ส่วนสมุนไพรที่ใช้ในรูปยาเดี่ยวเป็นตัวๆ ปัจจุบันสามารถใช้ได้สะดวกมากขึ้น เพราะมีการนำมาแปรรูปโดยการทำให้แห้ง บดเป็นผง แล้วบรรจุแคปซูลจำหน่าย

เลือกใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
      
       จากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนในเรื่องการใช้สมุนไพรให้มากขึ้น ปัจจุบันเราจึงได้เห็นยาสมุนไพรหลายรูปแบบ วางจำหน่ายทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ส่วนของ ประชาชนเองก็ให้ความสนใจ และหันมานิยมการใช้สมุนไพรอย่างกว้างขวาง ดังนั้นการจะซื้อยาสมุนไพรมาใช้จึงต้องรู้จักเลือก ไม่เช่นนั้นหากไปเจอสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ก็อาจจะเกิดอันตรายได้ ข้อมูลเบื้องต้นที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อ คือ ดูว่ายานั้นมีการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือไม่ นอกจากนั้นก็ต้อง ดูวัน/เดือน/ปีที่ผลิต วันหมดอายุ การบรรจุหีบห่อว่าได้มาตรฐานหรือไม่ นั่นคือ จะต้องไม่รั่วหรือมีรอยบุบ หรือมีการเปิดหีบห่อ ซึ่งจะมีผลทำให้ยาเสื่อมคุณภาพ แล้วหากนำไปใช้ก็อาจเกิดโทษได้ นอกจากยาสมุนไพรและยาไทยที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ยาที่ผลิตจากองค์การเภสัชกรรม จากโรงพยาบาลที่มีเภสัชกรควบคุมมาตรฐาน ตลอดจนยาที่มีการปรุงโดยใช้ในคลินิก หรือสถานพยาบาลแผนไทย ที่มีผู้ประกอบโรคศิลปะเภสัชกรรมแผนไทยดูแลอยู่ ก็สามารถใช้ยาสมุนไพร และยาไทยนั้นได้

ข้อมูลสมุนไพรได้จากที่ไหน
        
       สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมุนไพร หรือต้องการทราบข้อมูลการใช้สมุนไพรอย่างถูกวิธี สามารถติดต่อไปยังหน่วยงาน สถาบันการศึกษา หรือองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ คือ

๑. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข โทร.๐-๒๕๙๐-๗๐๐๐ หรือสายด่วนผู้บริโภคกับ อย. โทร.๑๕๕๖

๒. สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข โทร.๐-๒๕๙๑-๑๐๙๕, ๐-๒๕๙๑-๗๖๘๖

๓. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตู้ ป.ณ.๒๒๔ ปณจ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร.๐-๒๕๙๑-๑๗๐๗

๔. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๔๔๗ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทร.๐-๒๒๔๘-๒๑๔๓, ๐-๒๖๔๔-๔๓๓๘,
๐-๒๖๔๔-๘๖๗๗-๙๑ หรือคณะเภสัชศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย

ข้อมูล : ๑. รศ.ดร.วีณา จิรัจฉริยากูล ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒. นิตยสารสมุนไพร พ.ย.๒๕๔๔