วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรรพคุณสมุนไพรไทย ณ บ้านยาไทย จ.สตูล

ยาสีฟันสูตรสมุนไพร




วัสดุที่ใช้ในการทดลอง


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง


วิธีการทดลอง




 


ณ บ้านยาไทย

หาข้อมูล สรรพคุณของวัสดุและสมุนไพรไทยในการทำโครงงาน

 
 
 
 
 
การบูร สรรพคุณ รสร้อน ระงับอาการอักเสบ
 



 
 เกลือ สรรพคุณ รักษาฟัน ลดเหงือกอักเสบ ฆ่าเชื้อโรค
 


 

 
สารส้ม สรรพคุณ รสฝาด สมานแผลในปาก
 
 
 
ใบพลู สรรพคุณ รสเผ็ด รักษารากฟัน
 
 

 


วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เกลือดีกว่าที่คิด

ผมมีประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับเกลือที่อยากเอามาคุยกับผู้อ่าน ผมเคยลองใช้ยาสีฟันแผนโบราณที่ทำจากใบข่อย รู้สึกว่าปากสะอาดกว่าการใช้ยาสีฟันที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป ผมเอะใจอย่างหนึ่งว่าในยาสีฟันมีรสเค็ม ก็เคยตั้งคำถามว่าเป็นเพราะเกลือที่ใส่ไว้หรือเปล่า เพราะใคร ๆ ก็ทราบว่าเกลือฆ่าเชื้อได้ การที่เขาทำปลาเค็ม เนื้อเค็ม แล้วเก็บไว้ได้ไม่เน่าเสียก็เพราะเกลือมันฆ่าเชื้อ การที่เนื้อเน่ามีกลิ่นก็เพราะมีเชื้อไปทำให้เนื้อเน่า ปากเหม็นก็เพราะมีเชื้อไปทำให้เศษอาหารเน่า หรือทำให้เหงือกเน่า

ถ้าแปรงฟันเอาเศษอาหารออกให้หมดเสียก่อน หลังจากนั้นเอาแปรงแตะเกลือผงแปรงให้ทั่ว อย่าบ้วนทิ้งทันที ให้เวลาเค็มได้แผ่ซ่านไปทั่วเหงือกทั่วฟันแล้วจึงบ้วนทิ้ง ทำดังนี้ ปากสะอาดดีนักแล สะอาดกว่าการใช้ยาสีฟันยี่ห้อต่าง ๆ มาก ไม่เชื่อลองไปทำวิจัยเปรียบเทียบดู ที่น่าจะวิจัยอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้เกลือแปรงฟันป้องกันหินปูนจับที่โคนฟันได้หรือไม่

เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมเจ็บคอ หลังจากไม่ได้เป็นมานาน ปกติเจ็บคอทีหนึ่งก็เป็นอยู่หลายวัน ทำให้ไม่สบายและไม่เป็นสุข ผมจึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้อาการเจ็บคอหายเร็วที่สุด การเจ็บคอนี้เกิดจากการอักเสบไม่จากเชื้อไวรัสก็แบคทีเรียตัวใดตัวหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นไวรัส หรือแบคทีเรียถ้าโดนเกลือเข้ม ๆ เข้ามันก็ตายเหมือนกัน ผมจึงเอาเกลือละลายน้ำให้เข้มข้นโดยน้ำปริมาณสัก 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วอมให้เข้าไปสัมผัสตรงคอให้นานที่สุด (2-3 นาที) โดยเอามือยึดขอบอ่านน้ำไว้แล้วหงายหน้าไปข้างหลัง ให้เกลือลงไปสัมผัสในคอ ผ่อนลมหายใจเข้าออก คล่อก ๆ โดยที่ไม่กลืนและไม่ให้น้ำเกลือเข้าหลอดลม เสร็จแล้วบ้วนทิ้ง

ปรากฏว่าการหายเจ็บคอหายไปภายใน 1 ชั่วโมง!

หายเจ็บคอเป็นปลิดทิ้ง และหายไปเลย เคยใช้ยาต่าง ๆ ก็ไม่เคยมีอะไรทำให้หายเร็วชะงัดเท่านี้ จึงนำมาเล่าให้ผู้อ่านฟัง คนที่เจ็บคอเรื้อรังรักษาอย่างไรก็ไม่หายจะลองดูก็ได้ ได้ผลประการใดเขียนมาเล่าสู่กันฟังใน “หมอเช้าบ้าน” บ้าง

การเป็นหวัดเจ็บคอก็เป็นกันทุกคน เป็นแล้วก็รำคาญเสียเวลา กินยาอะไร ๆ ก็มักจะเสียเวลาสี่ซ้าห้าวัน หรือเจ็ดวันกว่าจะหาย น่าจะหาวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้การเป็นหวัดเจ็บคอหายเร็วขึ้น ถ้าหายเร็วกว่าการกินยาฝรั่งเท่าตัวเช่นหายภายใน 2-3 วันก็จะเกิดประโยชน์เป็นมูลค่ามหาศาล

คนโบราณเป็นไข้ก็จับเข้ากระโจมอบความร้อน เหงื่อแตกทั้งตัวสบายขึ้น ควรจะมีการวิจัยว่าการเข้ากระโจมอบความร้อนนี้ช่วยให้การเป็นหวัดสั้นเข้าหรือไม่ การวิจัยทำนองนี้น่าจะมีความสนใจกันมากขึ้น เพราะให้ประโยชน์เหลือหลายต่อประชาชน

สุขภาพฟันดีด้วยสมุนไพร


สำหรับวันนี้ทางเราก็มีเรื่องสุขภาพน่ารู้เกี่ยวกับฟันมาฝากเพื่อนๆ กันอีกเช่นเคยค่ะ ทั้งนี้เพื่อนๆ เคยทราบไหมค่ะว่า ฟันเราจะสวยได้นั้นง่ายๆ เพียงนิดเดียว ซึ่งวันนี้ทางเราก็มีสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องสุขภาพปากและฟันมานำเสนอเพื่อนๆ กันนั่นเองค่ะ
1. เกลือ นอกจากเกลือจะมีส่วนที่ช่วยในการดับกลิ่นปากและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้แล้วนั้น เกลือที่ว่านี้ก็ยังจะสามารถช่วยในส่วนของการลดอาการปวดฟันได้อีกด้วยนั่นเองค่ะ
2. เกลือทะเล เปลือกมะขามเทศ หัวข่าแดง โดยการนำส่วนผสมทุกอย่างมาต้มอย่างละ 1 ส่วน แล้วจากนั้นก็ทำการกรองเอาเฉพาะน้ำออก และจากนั้นก็ให้คุณนำมาอมก่อนขั้นตอนในการแปรงฟัน ซึ่งสามารถอมและบ้วนปากออกได้นั่นเองค่ะ การทำบ่อย ๆ นั้นก็จะทำให้ฟันและเหงือกมีสุขภาพที่แข็งแรงดี
3. น้ำมันมะพร้าว ใช้นำมาอมหรือนำมาบ้วนปากได้นั่นเองค่ะ ซึ่งน้ำมันมะพร้าวนี้ก็จะมีส่วนที่ช่วยทำให้น้ำลายในปากของคุณนั้นไปดึงเอาพวกเชื้อแบคทีเรียนั้นออกมาจากข้างใน และนอกจากนั้นที่สำคัญห้ามคุณกลืนลงคอนะคะ เมื่ออมแล้วก็ให้บ้วนทิ้งเท่านั้นค่ะ
4. ใบข่อย ทำได้โดยการนำมาปอกเปลือกออกและจากนั้นก็ให้คุณเคี้ยว ๆ แล้วให้คายทิ้ง ส่วนของกาบข่อยนั้นก็สามารถที่จะนำมาถูกฟันได้นั่นเองค่ะ เพื่อจะทำให้ฟันของคุณนั้นขาวสะอาดนั่นเองค่ะ
5. ใบพลู หรือ ใบฝรั่ง ซึ่งก็นับว่ามีประโยชน์อีกมากมายเลยทีเดียว ซึ่งก็จะช่วยในการดับกลิ่นปาก ทำได้โดยการนำใบมาเคี้ยวแล้วบ้วนทิ้งนั่นเองค่ะ
6. ใบชา ซึ่งสำหรับใบชาก็สามารถที่จะนำมาใช้ในการบ้วนปาก ทำได้ด้วยการนำใบชาไปต้ม กับน้ำแล้วจากนั้นก็ให้คุณนำเอาน้ำที่ได้นั้นมาใช้ในการบ้วนปากแทนน้ำยาบ้วนปาก

เคล็ดลับดูแลสุขภาพฟัน


วันนี้เรามีเคล็ดลับดูแล”สุขภาพ”ฟันมาฝากกันอีกด้วย สำหรับฟันนั้นก็เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในร่างกาย แล้วเป็นอวัยวะที่สำคัญ อีกทั้งยังเป็นอวัยวะที่ต้องรับแลเป็นที่สะสมสิ่งสกปรกไว้มากมาย เพราะฉะนั้นแล้วฟันนั้นจึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ วันนี้เราก็เลยจะมาแนะนำวิธีดูแลสุขภาพฟันด้วยสมุนไพรมาให้คุณได้รู้กันด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่จุดเด่นของร่างกาย เรียกว่าเป็นจุดที่ถูกละเลยและมองข้ามไปเลยก็ได้ แต่ก็ไม่ควรลืมว่าฟันของเราเป็นตัวบดเคี้ยวอาหาร เพราะฉะนั้นแล้ว”เศษอาหาร”ที่ยังคงตกค้างอยู่ในซอกฟันของเราได้ เพียงแค่การแปรงฟันนั้นไม่ได้ช่วยให้ได้ผลเต็มร้อย ถ้าอย่างนั้นเรามาดูมาทำความรู้จักกับเคล็ดลับดูแลสุขภาพฟันกันเลยดีกว่า
การดูแลสุขภาพฟันด้วยสมุนไพร
- เกลือ วิธีใช้ก็ง่ายๆ เพียงแค่ใช้อมก่อนการแปรงฟันตอนเช้าเป็นประจำ จากนั้นค่อยแปรงฟันตามปกติ นอกจากเกลือจะช่วยดับกลิ่นปากได้แล้ว เกลือก็ยังสามารถช่วยลดอาการปวดฟันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- เกลือทะเล เปลือกมะขามเทศ หัวข่าแดง วิธีใช้ เพียงแค่นำมาต้มอย่างละ 1 ส่วน แล้วทำการกรองน้ำออก นำมาอมก่อนการ”แปรงฟัน”ทุกเช้าเป็นประจำ อม และบ้วนออก ทำบ่อยๆ ฟัน และเหงือกก็จะแข็งแรงดีขึ้น
- น้ำมันมะพร้าว วิธีใช้ เพียงแค่ให้อมน้ำมันมะพร้าวก่อนการรับประทานอาหารเช้า 2 ช้อนชา ใช้เวลาประมาณ 15 นาที แล้วบ้วนออก เพราะน้ำมันมะพร้าว จะทำให้น้ำลายไปดึงพวกเชื้อแบคทีเรียออกมาจากข้างใน”ช่องปาก” และที่สำคัญห้ามกลืนลงคอเด็ดขาด ให้บ้วนทิ้งเท่านั้น
- ใบข่อย วิธีใช้ เพียงแค่ให้นำก้านข่อยมาลอกเปลือกออก จากนั้นให้ค่อยๆ เคี้ยวแล้วคายทิ้ง ส่วนกาบของข่อยให้นำมาถูฟัน ก็จะทำให้ฟันขาวสะอาดขึ้น
- ใบพลู หรือ ใบฝรั่ง ซึ่งจะมีประโยชน์ในการดับ”กลิ่นปาก”เป็นอย่างมาก วิธีใช้ คือ น้ำใบฝรั่งมาล้างให้สะอาด จากนั้นนำใบมาเคี้ยวๆ แล้วบ้วนทิ้ง เพียงเท่านี้ก็จะดับกลิ่นปากได้แล้ว
- ใบชา ก็จะใช้ในการบ้วนปาก คือ น้ำใบชาไปต้ม แล้วนำน้ำที่ได้ มาใช้บ้วนปากแทนน้ำยาบ้วนปากทุกเช้า

ขอบคุณบทความจาก.n3k.in.th

รักษาสุขภาพฟันด้วยสมุนไพรใกล้ตัว





ฟัน


รักษาสุขภาพฟันด้วยสมุนไพรใกล้ตัว

สมุนไพรใกล้ตัวนี่แหละที่จะเนรมิตสุขภาพฟันให้แข็งแรง พร้อมความขาวเงางามเป็นประกาย ขอบอก!!!

1. เกลือ

วิธีใช้ ใช้อมก่อนการแปรงฟันตอนเช้า จากนั้นค่อยแปรงฟันตามปกติ นอกจากเกลือจะช่วยดับกลิ่นปากได้แล้ว เกลือก็ยังสามารถช่วยลดอาการปวดฟันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2. เกลือทะเล เปลือกมะขามเทศ หัวข่าแดง

วิธีใช้ นำมาต้มอย่างละ 1 ส่วน แล้วทำการกรองน้ำออก นำมาอมก่อนการแปรงฟัน อมและบ้วนออก ทำบ่อย ๆ ฟันและเหงือกจะแข็งแรงดี

3. น้ำมันมะพร้าว

วิธีใช้ ให้อมน้ำมันมะพร้าวก่อนการรับประทานอาหารเช้า 2 ช้อนชา ใช้เวลาประมาณ 15 นาที แล้วบ้วนออก เพราะน้ำมันมะพร้าว จะทำให้น้ำลายไปดึงพวกเชื้อแบคทีเรียออกมาจากข้างใน และที่สำคัญห้ามกลืนลงคอ ให้บ้วนทิ้งเท่านั้น

4. ใบข่อย

วิธีใช้ ให้นำก้านข่อยมาสักหนึ่งคืบ แล้วลอกเปลือกออก จากนั้นให้เคี้ยว ๆ แล้วคายทิ้ง ส่วนกาบของข่อยให้นำมาถูฟัน จะทำให้ฟันขาวสะอาด วิธีนี้ลองถามผู้เฒ่าผู้แก่รับรองได้รับการยืนยันการันตีว่าได้ผล

5. ใบพลู หรือ ใบฝรั่ง

มีประโยชน์ ในการดับกลิ่นปาก วิธีใช้คือ น้ำใบฝรั่งมาล้างให้สะอาด จากนั้นนำใบมาเคี้ยว ๆ แล้วบ้วนทิ้ง

6. ใบชา

จะใช้ในการบ้วนปาก คือน้ำใบชาไปต้ม แล้วนำน้ำที่ได้ มาใช้บ้วนปากแทนน้ำยาบ้วนปาก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ยาสีฟันสมุนไพร


ยาสีฟันสมุนไพร


ใช้ทำความสะอาดฟันและช่องปาก มีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ใบพลู ใบฝรั่ง และเปลือกมังคุด ที่ช่วยผสานคุณค่าในการ เสริมสร้างความแข็งแรงให้เหงือกและฟัน
ส่วนประกอบ:
สารสกัดใบพลู ใบฝรั่ง และเปลือกมังคุด
  • ใบพลูมีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
  • ใบฝรั่งมีประสิทธิภาพในการดับกลิ่นปาก ให้ลมหายใจหอมสดชื่น
  • เปลือกมังคุดนอกจากจะมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากแล้ว ยังช่วยกระชับเหงือก ลดโอกาสการเกิดโรคเหงือก
สรรพคุณ:
ใช้ทำความสะอาดฟันและช่องปาก บำรุงสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง ลมหายใจหอมสดชื่น
 

ยาสีฟันสมุนไพรธรรมชาติ สุขภาพช่องปากที่เราเลือกเองได้

แพทย์แผนไทย
วิเชียร คงวิลาส
รอยยิ้มพิมพ์ใจมักจะมาควบคู่กับฟันขาวสะอาดเสมอ ความสะอาดในช่องปาก เหงือกและฟันจึงมีความจำเป็นยิ่ง นอก จากนี้เหงือกและฟันยังเป็นอวัยวะช่วยในการย่อยอาหารที่สำคัญ เมื่อเกิดปัญหาในช่องปากย่อมกระทบกับการทำงานในระบบที่เกี่ยวเนื่องกันได้
เมื่อย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ของการใช้แปรงสีฟันและยาสีฟัน พบว่า มีมานานกว่า 2,500 ปีแล้ว เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน โดยใช้ขนหมูมัดติดกับไม้ไผ่ใช้แปรงฟัน ส่วน ในอินเดียจะใช้กิ่งข่อยแปรง เช่นเดียวกับประ เทศไทยใช้กิ่งข่อยและกิ่งสีฟันคนทาแปรงฟัน
ยาสีฟันเก่าแก่และโบราณที่สุดในโลกได้แก่เกลือ คนโบราณจึงใช้เกลืออมบ้วนปากและแปรง ฟัน ต่อมาพัฒนาการผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดช่องปากเจริญรุดหน้า เราจึงได้เห็นแปรง สีฟันในรูปแบบต่างๆ เช่นที่พบในปัจจุบัน ส่วนยาสีฟันก็ไม่แตกต่าง มีการค้นพบสารซักฟอกที่ใช้ในการทำความสะอาด ยาสีฟันในปัจจุบันจึงมีทั้งฟอง รสชาติต่างๆ กลิ่นที่แตกต่างกันไป
ยาสีฟันในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อการทำความสะอาดฟัน เพราะสารขัดถูและสารทำความสะอาด ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่จะช่วยขจัดคราบฟันได้ดี และทำให้ฟันขาวสะอาด และยังมีสารตัวอื่นๆ เพิ่มลงไปเพื่อช่วยเสริมในการดูแลปากและฟัน เช่น ฟลูออไรด์ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผิวฟัน สารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก เป็นต้น
ทำไมเราต้องใส่ใจว่ายาสีฟันนั้นเป็นแบบธรรม ชาติหรือไม่ เพราะส่วนผสมของยาสีฟันทั่วไปนั้นจะมีสารซักฟอกเป็นส่วนประกอบ ซึ่งในระยะยาวแล้วสารเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แตกต่างจากการใช้ยาสีฟันธรรมชาติที่จะไม่มีสารซักฟอกทิ้ง สารตกค้างไว้ในร่างกาย และยังสามารถเพิ่มสรรพ คุณโดยการเลือกใช้สมุนไพร ที่หาได้ง่ายมาเป็นส่วนประกอบของยาสีฟันซึ่งเราสามารถเลือกเองได้
ส่วนประกอบหลักของยาสีฟันทั่วไปและธรรม ชาติโดยทั่วไปจะประกอบด้วย
สารขัดถู ทำหน้าที่ขัดถูผิวฟัน ขจัดเศษอาหาร คราบที่ติดอยู่บนผิวฟัน ในยาสีฟันทั่วไปใช้แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นตัวการขัดถู ส่วนยาสีฟันธรรมชาติ ก็จะใช้แคลเซียมคาร์บอเนต และเกลือแกง ผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต
สารทำความสะอาด ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิ ภาพในการทำความสะอาดฟัน สารที่ใช้เป็นสารลด แรงตึงผิว เช่นสบู่ หรือสารซักฟอก ใช้แปรงฟันแล้ว เกิดฟอง สารนี้จะไม่เป็นพิษ ไม่ระคายเคืองต่อเยื่อบุในช่องปาก ยาสีฟันทั่วไปใช้สารซักฟอก ตัวที่นิยมคือ สาร SLS (Sodium Lauryl Sulfate ) ใช้ได้ไม่เกิน 2% แต่สำหรับในยาสีฟันธรรมชาตินี้จะใช้ผง สบู่ไม่เกิน 1-2% หรือเกลือแกง ก็สามารถช่วยทำ ความสะอาดได้เช่นกัน
สารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทำหน้าที่ช่วยลดแบคที เรียในช่องปาก ในยาสีฟันทั่วไปมักจะใช้สารไตรโคล ซาน (Triclosan) ที่เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในสบู่ยา ส่วนในยาสีฟันธรรมชาติจะใช้ผงฟู (โซเดียมไบคาร์ บอเนต) สมุนไพรต่างๆ ที่บดเป็นผงและน้ำมันหอมระเหย เช่น อบเชย กานพลู เป็นต้น
สารเพิ่มความชุ่มชื้น ใช้เฉพาะในยาสีฟันที่เป็นครีม ในยาสีฟัน
สารเพิ่มความหวาน เพื่อให้รสหวานในยาสี ฟัน ไม่ได้เป็นสารจำเป็นแต่อย่างใด ในกรณีที่จะใช้ก็จะใช้กลีเซอรีน หรือซอร์บีทอล
สารปรุงแต่งกลิ่นและสี ในยาสีฟันธรรมชาติ จะใช้น้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากพืชสมุนไพร นอกจากช่วยแต่งกลิ่นและรสของยาสีฟันแล้ว ยังเพิ่มสรรพคุณในการป้องกันรักษาโรคในช่องปากด้วย เช่นน้ำมันหอมระเหยสะระแหน่ ผงอบเชย ผงกานพลู เป็นต้น
ฟลูออไรด์ (Fluoride) เป็นสารที่ช่วยทำให้เคลือบฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุ ฟลูออไรด์ที่ใช้คือ โซเดียมฟลูออไรด์ หรือโซเดียมโมโนฟลูไรฟอสเฟต ต้องใช้ในปริมาณเจือจางมากๆ มีข้อควรระวังในการใช้สำหรับเด็กต่ำกว่า 6 ปี ใช้แล้วต้องบ้วนน้ำมากๆ ไม่ควรกลืน สำหรับยาสีฟันธรรมชาติจะไม่ใส่
ในส่วนของตัวยาสมุนไพรไทยนั้นมีหลายตัวที่มีสรรพคุณที่ใช้กับเหงือกและฟันได้ดี ได้แก่
เกลือ เป็นสารทำความสะอาดเหงือกและฟัน ข่อย แก้อาการปวดฟัน รักษารำมะนาด (ใช้เปลือกหรือกิ่งข่อย)
สะระแหน่ สารให้ความเย็น ทำให้ช่องปากหอมสดชื่น เป็นสาร อบเชย มีกลิ่นหอม รสหวาน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ กานพลู รสเผ็ดร้อน ฆ่าเชื้อโรคและเป็นยาชา ใช้ดับกลิ่นปาก แก้เลือดออกตามไรฟัน และแก้โรครำมะนาด อบเชย รสหวาน กลิ่นหอม ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ผักคราดหัวแหวน รสเอียนเบื่อ แก้ปวดฟัน แก้อักเสบรักษาแผลในปาก รำมะนาด แก้วใช้ส่วนของใบมีรสร้อนเผ็ดขมสุขุม แก้อาการปวดฟัน สีฟันคนทา ใช้เปลือกหรือกิ่ง ช่วยให้รากฟันแข็งแรงทนทาน เทียนข้าวเปลือก กลิ่นหอม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เทียนตากบ กลิ่นหอม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เทียนสัตตบุษย์ รสหวาน กลิ่นหอม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ โป๊ยกั๊กกลิ่นหอม แต่งกลิ่น กระวานเทศ กลิ่นหอมฉุนแต่งกลิ่น
การทำยาสีฟันสมุนไพรธรรมชาติใช้เอง
1.เตรียมส่วนผสม เช่น เกลือ ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) แคลเซียมคาร์บอเนต ข่อย กานพลู น้ำมันสะระแหน่
2.นำส่วนผสมเทใส่ถ้วยคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน
3.เมื่อคลุกจนเข้ากันดีแล้วเติมกานพลู ข่อย ลงไปแล้วคลุกให้เข้ากัน
4.เมื่อคลุกจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว จึงค่อยๆ หยดน้ำมันสะระแหน่เติมลงไป จากนั้นก็คลุกเคล้าจนเข้ากัน
5.ยาสีฟันที่ได้จะเป็นชนิดผง เมื่อคลุกเคล้าจนเข้ากันแล้วก็บรรจุใส่ภาชนะไว้ใช้
การหันมาปรุงยาสีฟันไว้ใช้เอง ประโยชน์คือเรากำหนดสรรพคุณของวัตถุดิบได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เราสามารถหลีกเลี่ยงไม่ใช้สารเคมีปรุงแต่ง และเมื่อเทียบราคากับยาสีฟันในท้องตลาดแล้วราคาถูกกว่ามาก สำคัญที่สุดคือสุขภาพของเราที่เลือกเองได้

แก้ปวดฟันด้วยวิธีธรรมชาติ

อาการปวดฟัน (Toothaches) ส่วนใหญ่มีผลมาจากฟันผุ ซึ่งในระยะเริ่มแรกจะมีลักษณะเสียวฟัน ก่อนที่อาการปวดจะลามไปที่บริเวณใต้คางและศีรษะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกินของเย็น ของร้อน หรือของหวาน เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปาก ปล่อยกรดออกมาทำลายเคลือบฟัน และชอนไชเข้าไปจนถึงเนื้อเยื่อส่วนที่นิ่มภายใน ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก บวกกับในโพรงประสาทฟันมีเนื้อที่จำกัด จึงทำให้เกิดการอักเสบและบวม

เมื่อเกิดอาการบวม จะทำให้เส้นประสาทถูกกด รวมทั้งเกิดการปิดกั้นช่องทางเปิดปลายรากฟัน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จึงไม่สามารถนำออกซิเจนมาเลี้ยงฟันได้ จนทำให้เกิดอาการปวดฟันที่รุนแรง และในที่สุดเนื้อฟันก็จะตาย เมื่อถึงตอนนั้นอาการปวดก็จะหายไป อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นหนองบริเวณปลายรากฟันอาการปวดอาจกลับมาอีก แต่ลักษณะการปวดจะเป็นแบบตื้อๆ และสามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนขึ้น

นอกจากนี้ อาการปวดฟันอาจเกิดจากวัสดุอุดฟันหลุดไป ฟันร้าวหรือแตกจนถึงชั้นเนื้อฟันและโพรงประสาทฟัน การนอนกัดฟัน (bruxism) ปวดเนื่องจากมีฟันคุด และเหงือกอักเสบ (gingivitis) ซึ่งจะทำให้เหงือกร่น และรากฟันบางส่วนโผล่ขึ้นมา ส่งผลให้เกิดอาการเสียวฟันและปวดฟันได้ แต่บางคนที่มีสุขภาพฟันดี ก็อาจมีความไวมากเป็นพิเศษ ต่อของร้อนหรือของเย็นได้

วิธีลดอาการปวดฟัน

ถ้าคุณอยากหายทรมานจากอาการปวดฟันแล้วล่ะก็ ลองปฏิบัติตามคำแนะนำง่ายๆ ต่อไปนี้ดูสิคะ
1.
เมื่อมีอาการปวดฟัน ให้ประคบด้านข้างของใบหน้าซีกที่ปวดฟันด้วยน้ำอุ่น
2.
ในกรณีที่อาการปวดฟันมีลักษณะปวดตุบๆ ที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ ให้ประคบที่ด้านข้างของใบหน้าด้วยน้ำแข็งประมาณ 5-10 นาที ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ความเย็นจะช่วยลดทั้งอาการปวดและบวม
3.
ถ้ามีอาการเสียวฟันง่าย ให้ใช้โซดาไฟ หรือแปรงฟันด้วยยาสีฟันสูตรสำหรับแก้เสียวฟัน
4.
เมื่อต้องอยู่ในที่ที่อากาศเย็น หรือในช่วงฤดูหนาว สามารถป้องกันอาการเสียวฟัน หรืออาการปวดฟันจากอากาศเย็นได้ โดยปิดปากด้วยผ้าพันคอ
5.
เลี่ยงอาหารที่ร้อนจัด เย็นจัด และหวานจัด โดยเฉพาะชา กาแฟ และไอศกรีม เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้มีอาการ งดอาหารที่แข็งจนต้องใช้วิธีกัดกิน เช่น แครอท แอปเปิ้ล ฝรั่ง ที่ยังไม่สุก เพราะการขบกัดฟันแรงๆ กับวัตถุแข็งๆ จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดฟัน และในกรณีที่อุดฟัน ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะจะทำให้สารที่อุดฟันไว้ หลุดออกมาง่ายขึ้น
นวดกดจุด ลดอาการปวด
หลายคนคงคุ้นเคยกับการนวดกดจุดตามร่างกาย ทั้งฝ่าเท้า ฝ่ามือ และศีรษะดีแล้วใช่ไหมคะ คราวนี้เราลองมานวดกดจุด เพื่อบรรเทาอาการปวดฟันกันดีกว่า
1.
นวดคลึงเบาๆ ที่แก้มบริเวณเหนือฟันที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว
2.
ใช้น้ำแข็งก้อนเล็กๆ กดและถูบริเวณง่ามมือ ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หรือใช้มืออีกข้างนวดบริเวณเดียวกันนี้ จะช่วยลดอาการปวดฟันได้ชั่วคราว
3.
สำหรับคนที่ปวดบริเวณกรามล่าง ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดบริเวณกระดูกขากรรไกรที่รองรับฟันล่าง ส่วนคนที่ปวดบริเวณกรามบน ให้วางนิ้วหัวแม่มือตรงบริเวณส่วนกลางของหู แล้วลากนิ้วไปทางด้านหน้า จนกระทั่งถึงรอยบุ๋มใต้กระดูกประมาณ 1 นิ้วบริเวณหน้าใบหู จากนั้นกดแรงๆ ประมาณ 10 นาที
สมุนไพรบรรเทาปวด
บางคนพึ่งยาสารพัดชนิด ทั้งกิน ทั้งทา แต่พอหมดฤทธิ์ยาแล้ว อาการปวดฟันก็กลับมาสำแดงเดชอีกครั้ง ลองมาสยบอาการปวด ด้วยฤทธิ์ยาทางธรรมชาติของสมุนไพรเหล่านี้ดีกว่าค่ะ
ว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณในการทำลายเชื้อโรค และสลายพิษ (Neutralization) ของเชื้อโรค โดยหั่นว่านหางจระเข้เป็นชิ้นๆ ความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เหน็บไว้ที่ซอกฟัน ใช้ฟันขบให้อยู่บริเวณที่ปวด หรือใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ ป้ายตรงบริเวณที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วคราว
น้ำมันละหุ่ง ทาน้ำมันละหุ่งบริเวณแก้มข้างที่ปวดฟัน และใช้พลาสเตอร์ยาปิดไว้ แล้วใช้ผ้าขนหนูอุ่นๆ หรือแผ่นประคบบริเวณที่มีอาการปวด จากนั้นนอนพักอย่างน้อย 20 นาที น้ำมันละหุ่งมีสรรพคุณในการระงับปวดได้ดี โดยจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ที่ไปคั่งอยู่กับเชื้อจุลินทรีย์ ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อ หรือกับสารที่ทำให้เกิดอาการปวด เช่น ไซโตไคเนส (cytokines) ในกรณีที่ปวดรากฟัน
น้ำมันกานพลู มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดฟันได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง บางครั้งหมอฟันจะใช้น้ำมันกานพลูแทนยาที่มีฤทธิ์แรงกว่า เช่น Novocain โดยทาน้ำมันกานพลูบริเวณที่ปวดในช่องปากได้โดยตรง (หากน้ำมันกานพลูเข้มข้นเกินไป อาจทำให้เจือจางด้วยการผสมน้ำมันมะกอก) นอกจากนี้ อาจใช้วิธีอมกานพลูทั้งชิ้นไว้ในปากบริเวณที่ปวดก็ได้ จะทำให้รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว และอยู่นานกว่า 90 นาที หรือนำดอกกานพลูมาทุบแช่น้ำเหล้าขาว แล้วใช้สำลีอุดฟันซี่ที่ปวด
น้ำมันกระเทียม ใช้สำลีชุบน้ำมันกระเทียมทาบริเวณที่ปวดฟัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เหมือนกัน
ดาวเรือง ใช้ดอกแห้งประมาณ 7-8 ดอก ต้มกับน้ำสะอาดในประมาณที่พอเหมาะ ดื่มเป็นน้ำสมุนไพรทั้งวัน เพื่อแก้อาการปวดฟัน
ผักบุ้งนา นำรากสดของผักบุ้งนาประมาณ 10 กรัม ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำส้มสายชู อมไว้ประมาณ 5 นาที แล้วบ้วนออกด้วยน้ำสะอาด
มะระ นำรากสดของมะระมาตำพอแหลก แล้วพอกฟันซี่ที่ปวด โดยใช้ลิ้นกดไว้สักครู่ใหญ่ๆ
กุยช่าย ในกรณีที่ปวดฟันเพราะแมงกิน ฟัน ให้นำเมล็ดกุยช่ายมาคั่วให้เกรียมดำ จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด ละลายน้ำมันยางแล้วชุบสำลี ยัดในฟันที่เป็นรูโพรง ทิ้งไว้ 1 คืน จะสามารถฆ่าตัวแมงที่กินฟันได้
Tip
เมื่อใช้ยาสมุนไพรจนอาการปวดฟันบรรเทาแล้ว ควรไปพบทันตแพทย์
ไม่ควรใช้ยาแอสไพรินบดอุดบริเวณฟันที่ปวด เพราะจะทำให้เกิดแผลไหม้ที่เหงือก และเป็นอันตรายต่อเคลือบฟันได้
ถ้ามีอาการปวดบวมเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือเหงือกแดงผิดปกติ มีเลือดออก แสดงว่าติดเชื้อ หรือถ้าปวดฟันและมีไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

แก้ปวดฟันด้วยวิธีธรรมชาติ

อาการปวดฟัน (Toothaches) ส่วนใหญ่มีผลมาจากฟันผุ ซึ่งในระยะเริ่มแรกจะมีลักษณะเสียวฟัน ก่อนที่อาการปวดจะลามไปที่บริเวณใต้คางและศีรษะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกินของเย็น ของร้อน หรือของหวาน เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปาก ปล่อยกรดออกมาทำลายเคลือบฟัน และชอนไชเข้าไปจนถึงเนื้อเยื่อส่วนที่นิ่มภายใน ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก บวกกับในโพรงประสาทฟันมีเนื้อที่จำกัด จึงทำให้เกิดการอักเสบและบวม

เมื่อเกิดอาการบวม จะทำให้เส้นประสาทถูกกด รวมทั้งเกิดการปิดกั้นช่องทางเปิดปลายรากฟัน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จึงไม่สามารถนำออกซิเจนมาเลี้ยงฟันได้ จนทำให้เกิดอาการปวดฟันที่รุนแรง และในที่สุดเนื้อฟันก็จะตาย เมื่อถึงตอนนั้นอาการปวดก็จะหายไป อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นหนองบริเวณปลายรากฟันอาการปวดอาจกลับมาอีก แต่ลักษณะการปวดจะเป็นแบบตื้อๆ และสามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนขึ้น

นอกจากนี้ อาการปวดฟันอาจเกิดจากวัสดุอุดฟันหลุดไป ฟันร้าวหรือแตกจนถึงชั้นเนื้อฟันและโพรงประสาทฟัน การนอนกัดฟัน (bruxism) ปวดเนื่องจากมีฟันคุด และเหงือกอักเสบ (gingivitis) ซึ่งจะทำให้เหงือกร่น และรากฟันบางส่วนโผล่ขึ้นมา ส่งผลให้เกิดอาการเสียวฟันและปวดฟันได้ แต่บางคนที่มีสุขภาพฟันดี ก็อาจมีความไวมากเป็นพิเศษ ต่อของร้อนหรือของเย็นได้

วิธีลดอาการปวดฟัน

ถ้าคุณอยากหายทรมานจากอาการปวดฟันแล้วล่ะก็ ลองปฏิบัติตามคำแนะนำง่ายๆ ต่อไปนี้ดูสิคะ
1.
เมื่อมีอาการปวดฟัน ให้ประคบด้านข้างของใบหน้าซีกที่ปวดฟันด้วยน้ำอุ่น
2.
ในกรณีที่อาการปวดฟันมีลักษณะปวดตุบๆ ที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ ให้ประคบที่ด้านข้างของใบหน้าด้วยน้ำแข็งประมาณ 5-10 นาที ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ความเย็นจะช่วยลดทั้งอาการปวดและบวม
3.
ถ้ามีอาการเสียวฟันง่าย ให้ใช้โซดาไฟ หรือแปรงฟันด้วยยาสีฟันสูตรสำหรับแก้เสียวฟัน
4.
เมื่อต้องอยู่ในที่ที่อากาศเย็น หรือในช่วงฤดูหนาว สามารถป้องกันอาการเสียวฟัน หรืออาการปวดฟันจากอากาศเย็นได้ โดยปิดปากด้วยผ้าพันคอ
5.
เลี่ยงอาหารที่ร้อนจัด เย็นจัด และหวานจัด โดยเฉพาะชา กาแฟ และไอศกรีม เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้มีอาการ งดอาหารที่แข็งจนต้องใช้วิธีกัดกิน เช่น แครอท แอปเปิ้ล ฝรั่ง ที่ยังไม่สุก เพราะการขบกัดฟันแรงๆ กับวัตถุแข็งๆ จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดฟัน และในกรณีที่อุดฟัน ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะจะทำให้สารที่อุดฟันไว้ หลุดออกมาง่ายขึ้น
นวดกดจุด ลดอาการปวด
หลายคนคงคุ้นเคยกับการนวดกดจุดตามร่างกาย ทั้งฝ่าเท้า ฝ่ามือ และศีรษะดีแล้วใช่ไหมคะ คราวนี้เราลองมานวดกดจุด เพื่อบรรเทาอาการปวดฟันกันดีกว่า
1.
นวดคลึงเบาๆ ที่แก้มบริเวณเหนือฟันที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว
2.
ใช้น้ำแข็งก้อนเล็กๆ กดและถูบริเวณง่ามมือ ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หรือใช้มืออีกข้างนวดบริเวณเดียวกันนี้ จะช่วยลดอาการปวดฟันได้ชั่วคราว
3.
สำหรับคนที่ปวดบริเวณกรามล่าง ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดบริเวณกระดูกขากรรไกรที่รองรับฟันล่าง ส่วนคนที่ปวดบริเวณกรามบน ให้วางนิ้วหัวแม่มือตรงบริเวณส่วนกลางของหู แล้วลากนิ้วไปทางด้านหน้า จนกระทั่งถึงรอยบุ๋มใต้กระดูกประมาณ 1 นิ้วบริเวณหน้าใบหู จากนั้นกดแรงๆ ประมาณ 10 นาที
สมุนไพรบรรเทาปวด
บางคนพึ่งยาสารพัดชนิด ทั้งกิน ทั้งทา แต่พอหมดฤทธิ์ยาแล้ว อาการปวดฟันก็กลับมาสำแดงเดชอีกครั้ง ลองมาสยบอาการปวด ด้วยฤทธิ์ยาทางธรรมชาติของสมุนไพรเหล่านี้ดีกว่าค่ะ
ว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณในการทำลายเชื้อโรค และสลายพิษ (Neutralization) ของเชื้อโรค โดยหั่นว่านหางจระเข้เป็นชิ้นๆ ความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เหน็บไว้ที่ซอกฟัน ใช้ฟันขบให้อยู่บริเวณที่ปวด หรือใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ ป้ายตรงบริเวณที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วคราว
น้ำมันละหุ่ง ทาน้ำมันละหุ่งบริเวณแก้มข้างที่ปวดฟัน และใช้พลาสเตอร์ยาปิดไว้ แล้วใช้ผ้าขนหนูอุ่นๆ หรือแผ่นประคบบริเวณที่มีอาการปวด จากนั้นนอนพักอย่างน้อย 20 นาที น้ำมันละหุ่งมีสรรพคุณในการระงับปวดได้ดี โดยจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ที่ไปคั่งอยู่กับเชื้อจุลินทรีย์ ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อ หรือกับสารที่ทำให้เกิดอาการปวด เช่น ไซโตไคเนส (cytokines) ในกรณีที่ปวดรากฟัน
น้ำมันกานพลู มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดฟันได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง บางครั้งหมอฟันจะใช้น้ำมันกานพลูแทนยาที่มีฤทธิ์แรงกว่า เช่น Novocain โดยทาน้ำมันกานพลูบริเวณที่ปวดในช่องปากได้โดยตรง (หากน้ำมันกานพลูเข้มข้นเกินไป อาจทำให้เจือจางด้วยการผสมน้ำมันมะกอก) นอกจากนี้ อาจใช้วิธีอมกานพลูทั้งชิ้นไว้ในปากบริเวณที่ปวดก็ได้ จะทำให้รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว และอยู่นานกว่า 90 นาที หรือนำดอกกานพลูมาทุบแช่น้ำเหล้าขาว แล้วใช้สำลีอุดฟันซี่ที่ปวด
น้ำมันกระเทียม ใช้สำลีชุบน้ำมันกระเทียมทาบริเวณที่ปวดฟัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เหมือนกัน
ดาวเรือง ใช้ดอกแห้งประมาณ 7-8 ดอก ต้มกับน้ำสะอาดในประมาณที่พอเหมาะ ดื่มเป็นน้ำสมุนไพรทั้งวัน เพื่อแก้อาการปวดฟัน
ผักบุ้งนา นำรากสดของผักบุ้งนาประมาณ 10 กรัม ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำส้มสายชู อมไว้ประมาณ 5 นาที แล้วบ้วนออกด้วยน้ำสะอาด
มะระ นำรากสดของมะระมาตำพอแหลก แล้วพอกฟันซี่ที่ปวด โดยใช้ลิ้นกดไว้สักครู่ใหญ่ๆ
กุยช่าย ในกรณีที่ปวดฟันเพราะแมงกิน ฟัน ให้นำเมล็ดกุยช่ายมาคั่วให้เกรียมดำ จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด ละลายน้ำมันยางแล้วชุบสำลี ยัดในฟันที่เป็นรูโพรง ทิ้งไว้ 1 คืน จะสามารถฆ่าตัวแมงที่กินฟันได้
Tip
เมื่อใช้ยาสมุนไพรจนอาการปวดฟันบรรเทาแล้ว ควรไปพบทันตแพทย์
ไม่ควรใช้ยาแอสไพรินบดอุดบริเวณฟันที่ปวด เพราะจะทำให้เกิดแผลไหม้ที่เหงือก และเป็นอันตรายต่อเคลือบฟันได้
ถ้ามีอาการปวดบวมเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือเหงือกแดงผิดปกติ มีเลือดออก แสดงว่าติดเชื้อ หรือถ้าปวดฟันและมีไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับฟันและช่องปาก


โรคปริทันต์(โรครำมะนาด)
โรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ รอบๆ ตัวฟัน ได้แก่ เหงือก เนื้อเยื่อ ปริทันต์(เยื่อยึดรากฟัน) กระดูกทับรากฟัน ในระยะแรกที่เป็นโรคนี้จะไม่มีอาการใด ๆ ต่อมาจะมีการทำลายอวัยวะเหล่านี้ ทำให้กระดูกหุ้นฟันละลาย และเหงือกรับ รากฟันโผล่ อาจจะมีอาการปวดบวม ฟันโยกคลอนและหลุดในที่สุด
สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา
ขนานที่ 1 เอาหัวข่าหั่นเป็นแว่น ๆ ล้างให้สะอาด โขลกกับเกลือมากหน่อย จนเค็มจัด ตื่นนอนแตะนิ้วสีฟัน ให้ทั่วอมไว้ราว 5 นาที แล้วค่อยแปรงฟัน
ขนานที่ 2 เอาต้นชะพลูทั้งราก 6-9 ต้น เกลือ 1 กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มเคี่ยวรากครึ่งชั่วโมง เอาน้ำที่ได้มาอม หรือเอารากชะพลูกับเกลือมาตำให้ละเอียด พอก
ขนานที่ 3 เอาผลมะขามป้อมทุบพอแตก และเกลือ เอาอย่างละ 1 ถ้วย ต้มเคี่ยว 4 เอา 1 กรอกใส่ขวดตื่นนอนตอนเช้าอมสัก 2-3 วัน แก้ฟันเป็นรำมะนาด แก้ฟันโยกคลอน
ขนานที่ 4 เอารากอัญชัน ขาวทุบพอช้ำ การบูร 1 ใน 4 ส่วนของรากอัญชันขาวใส่เหล้าหรือแอลกอฮอล์ (ชนิดกินได้) ให้ท่วมยา แช่ 3 วัน อมแก้รำมะนาด
ขนานที่ 5 เอาเปลือกต้นข่อยผสมกับเกลือให้เค็ม จัดต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ใส่ขวดเก็บไว้อมวันละครั้ง เวลาเช้าทุกวัน

ปากเป็นแผล
ต้องระวังอย่าให้ท้องผูกควบคู่กับการใช้ยา
สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา
ขนานที่ 1 กินน้ำเกลืออุ่น ๆ ใส่เกลือ 1 หยิบมือต่อน้ำร้อน 1 แก้ว กินวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว
ขนานที่ 2 กินน้ำมะนาว บีบน้ำมะนาว 1 ลูก เติมน้ำให้เต็มแก้ว เติมเกลือ ไม่ต้องเติมน้ำตาล กินวันละ 3 ครั้ง
ขนานที่ 3 กินฝรั่งสดวันละ 2-3 ผล และหลังจากกินอาหารแล้วเด็ด เอาใบฝรั่งมาเคี้ยว จะมีรสฝาด และพยายามให้ถูกตรงแผลที่เปื่อย แล้วจึงบ้วนทิ้ง และเคี้ยวใหม่วันละ 2-3 ครั้ง
ขนานที่ 4 กินฟ้าทะลายโจรเม็ด เอาใบฟ้าทะลายโจรที่เริ่มออกดอกตากแห้งบดเป็นผง ปั้นทำน้ำเชื่อม เป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยกินครั้งละ 5-8 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง
ขนานที่ 5 อมใบฟ้าทะลายโจรสด ๆ ไม่ต้องเคี้ยว พยายามให้ถูกแผลที่ปากตลอดเวลา
ขนานที่ 6 ลูกยอ 33 ลูก สับให้ละเอียด เอาเถาวันเปรียงสับให้ละเอียด เอาส่วนเท่าลูกยอใส่เกลือพอเค็มดอง ตากน้ำค้างกินแก้ปากเปื่อย คอเปื่อย กินครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3-4 ครั้ง

โรคปากนกกระจอก
โรคนี้เกิดจากการขาดสารอาหารวิตามินบี
สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา
เอาฟองข้าวสีขาวที่เกิดจากข้าวที่กำลังหุงมาทาที่ปากที่เป็นปากนกกระจอก วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น

เริมที่ปาก
สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา
ขนานที่ 1 ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาบริเวณที่เป็นแผล
ขนานที่ 2 ใช้กลีเซอรีน เสลดพังพอน ทาบริเวณที่เป็นแผล

ปากเปื่อยในเด็ก
สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา
ขนานที่ 1 ผลมะกอกเผาไฟ 1 ส่วน มะขามป้อมเผาไฟ 1 ส่วนบดเป็นผง ปั้นเป็นแท่งไว้ละลายน้ำผึ้ง หรือน้ำมะนาวแทรกเกลือเป็นกระสาย กวาดหรือชุบสำลีอม เป็นยาสมานใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ขนานที่ 2 เอารากหูลิงฝนกับน้ำปูนใส ทาวันละ 3-4 ครั้ง

โรคฟันผุ
เป็นโรคที่มีการทำลายเนื้อเยื่อแข็งของฟันส่วนที่โผล่ขึ้นมาในช่องปาก ให้สลายตัวเปื่อยยุ่ยเป็นโพรงหรือรู การทำลายนี้จะเป็นการถาวร คือ ร่างกายจะไม่สามารถซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลายไปให้เป็นปกติเหมือนเดิม และหากไม่ได้รับการรักษาการผุทำลายจะลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน จะปวดฟันโพรงประสาทติดเชื้ออาจบวมเป็นหนอง และเชื้อโรคจะแพร่กระจายไปสู่อวัยวะต่าง ๆของร่างกายได้
โรคปวดฟันส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากฟันผุเป็นรู ยาที่ใช้ส่วนใหญ่ จะรับเชื้อโรค และทำให้ปลายประสาทชา ยังไม่มียาที่ยับยั้งฟันที่ผุแล้วไม่ให้ลามต่อไป เมื่อรู้ว่าฟันผุควรไปอุดเสีย ยาแก้ปวดฟันจะช่วยระงับอาการเท่านั้น เมื่อหายปวดแล้วต้องรีบไปอุดหรือรักษาฟันต่อไป
สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา
ขนานที่ 1 เด็ดใบตำลึงมาสัก 2 กำมือ ดินสอพอง 2 แผ่น ใส่ครกโขลกพอแหลก เติมน้ำนิดหน่อยเอาพอกแก้มข้างที่ปวด พอแห้งก็เปลี่ยนใหม่ พอกสัก 2-3 ครั้งจะทำให้หายปวดได้
ขนานที่ 2 เอาหัวข่าแก่สดผสมเกลือเล็กน้อยโขลกให้ละเอียดใส่รูฟันที่ปวด
ขนานที่ 3 เอากานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอ และใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด
ขนานที่ 4 ลอกเปลือกไม้มะขามเทศหรือมะขามบ้านก็ได้ เอามา 1 กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ใส่เกลือ 1 ช้อนชา ต้มให้เดือดสัก 10 นาที ปล่อยให้เย็น เอามาอม ใช้ในปาก อมนาน 2-3 นาที สัก 3-4 ครั้ง
ขนานที่ 5 ใช้เปลือกข่อยต้มอมแบบเดียวกับเปลือกมะขาม
ขนานที่ 6 ใช้รากมะพร้าวต้ม อมแบบเดียวกับเปลือกมะขาม
ขนานที่ 7 เอาการบูรใส่ในฟันที่ปวด
ขนานที่ 8 เอาหนอนตายหยาก ตำอุดรูฟันที่ปวด
ขนานที่ 9 ใช้ใบและต้นของผักส้มกกผสมกับเกลือให้พอเค็มขยี้ให้พอช้ำ ๆ แปะข้างเหงือกตรงที่ฟันปวด
ขนานที่ 10 เอาดอกหรือใบของผักคราดหัวแหวนขยี้หรือบดให้ละเอียดใส่ตรงฟันที่ปวด

โรคเหงือกและฟัน กับสมุนไพรไทย

ยาสีพันในลักษณะบีบหลอดที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เพิ่งเป็นที่นิยมใช้กันในระยะเวลาไม่น่าจะเกิน 50 ปีมานี้เอง ส่วนการบันทึกเรื่องการสีฟันนั้น มีมานานนับตั้งแต่สมัยฮิบโปเครติส (400ปีก่อนคริสต์กาล) โดยใช้เกลือแคลเซียมคาบอเนตในการขัดสีฟัน
มีรายงานว่ายาสีฟันเมื่อ2000 ปีก่อนนั้น มีส่วนประกอบของปะการัง หินอ่อน ผงขี้เถ้าจากการเผาพืชหรือสัตว์ นำมาบดให้ละเอียดแล้วนำมาสีฟัน
ในยุโรปเองยาสีฟันแบบเดิมๆ ที่ทุกวันนี้ยังคงมีใช้กันอยู่ คือ เกลือแกง เกลือโซเดียมคาร์บอเนตหรือที่เรารู้จักกันในนามของผงฟู ผสมกับผงเขม่า นำส่วนผสมเหล่านี้มาบดให้ละเอียดใช้เป็นยาสีฟันแบบผง ในบ้านเราเอง มีการสีฟันด้วยเกลือแกง หรือเกลือแกงบดรวมกับสารส้ม และยังมีการใช้พืชพรรณบางชนิดมาใช้สีฟัน พืชพรรณที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในเมืองไทยเห็นจะไม่พ้นข่อย กล่าวกันว่า การใช้กิ่งข่อยสีฟันมีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล โดยใช้กิ่งข่อยที่ทุบให้แตกตอนปลายๆ นำมาสีฟันเป็นทั้งยาสีฟันและแปรงสีฟัน เวลาแปรงก็จะเคี้ยวเนื้อไม้ไปด้วย
ส่วนพรรณไม้ที่นิยมใช้อีกชนิดหนึ่ง คือ สีฟันคนทาซึ่งใช้กิ่งไม้ทำยาสีฟันเช่นเดียวกับข่อย และยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่มีการใช้รักษาโรคเหงือกและฟัน



ยาสีฟันที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ส่วนประกอบสำคัญก็ยังคงเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต หรือเกลือแคลเซียม เกลืออลูมิเนียม ตัวอื่นที่มีหน้าที่ขัดฟัน และยังประกอบด้วยสารทำความสะอาด ที่นิยมใช้คือ โซเดียมลอริลซัลเฟต ที่มีความสามารถในการทำความสะอาดได้ดีกว่าสบู่ โดยใช้ในการปริมาณที่น้อยไม่เกิน 2% เพื่อขจัดคราบและเศษอาหารในปากและฟัน

นอกจากนั้นยังมีสารเพิ่มความหนืด สารเพิ่มความชุ่มชื้น สารแต่งรส สารกันบูด หลักการของยาสีฟันที่มีขายในท้องตลาดในขณะนี้ คือ การทำความสะอาด และการขัดคราบที่ติดฟันอยู่
ปัจจุบันมียาสีฟันมากมายหลายยี่ห้อในท้องตลาด ทั้งของภายในประเทศและต่างประเทศ มีการผสมสมุนไพรใส่ลงไปในยาสีฟัน ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค สมุนไพรที่มีฤทธิ์ดับกลิ่นปาก สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ สมุนไพรที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน
ทั้งนี้เพื่อยับยั้งเชื้อจุลลินทรีย์ในช่องปาก ช่วยบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ ช่วยทำให้เหงือกแข็งแรง เป็นต้น สมุนไพรที่นิยมใช้กัน ได้แก่
เปลือกมังคุด
คนยุคก่อนมีการใช้เปลือกมังคุดในการต้ม อมบ้วนปากแก้ปวดฟัน แก้เหงือกอักเสบ แก้เหงือกบวม แก้แผลในปาก ปัจจุบันมีการค้นคว้าศึกษาวิจัยถึงประโยชน์ของเปลือกมังคุดมากมาย พบว่าสารสกัดจากเปลือกมังคุด มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด มีฤทธิ์รักษาแผล มีฤทธิ์ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ฝาดสมาน การผสมเปลือกมังคุดไปในยาสีฟัน จึงได้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้งการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปาก และลดการอักเสบของเหงือก และรสฝาดทำให้เหงือกแข็งแรง
ใบฝรั่ง ใบฝรั่งเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กับโรคเหงือกและฟัน โดยนิยมเคี้ยวใบฝรั่ง เพื่อดับกลิ่นสุราในปาก ใช้เคี้ยวดับกลิ่นปาก ใช้ใบฝรั่งต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อย อมแก้ปวดฟัน ปัจจุบันจากการศึกษาวิจัยพบว่า ใบฝรั่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิด มีฤทธิ์ลดการอักเสบของเหงือก มีฤทธิ์พล๊าคที่จับเป็นคราบที่ฟัน การใช้ใบฝรั่งผสมลงไปในยาสีฟันจึงมีประโยชน์ตามที่กล่าวมาแล้ว

ใบพลู ใบพลูเป็นสมุนไพรที่คนไทยโบราณใช้เคี้ยวกินกับหมาก ด้วยเชื่อว่าจะรักษาปากฟันไม่ให้เป็นโรค แก้แมงกินฟัน มีการวิจัยพบว่าใบพลูมีฤทธิ์ที่สนับสนุนการใช้ดังกล่าวมากมาย เช่น มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียและราได้หลายชนิด มีฤทธิ์ระงับการเกิดแผ่นฝ้าที่แก้มด้านในลิ้นและเหงือก มีฤทธิ์เร่งการสมานแผล และยังมีน้ำมันหอมระเหยช่วยให้กลิ่นปากหอมสดชื่น ใบพลูจึงเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสมที่จะผสมลงไปในยาสีฟัน

นอกจากสมุนไพรที่กล่าวมาแล้ว สมุนไพรที่นิยมนำมาผสมลงไปในยาสีฟันได้แก่ ขิง เปลือกทับทิม ใบข่อย กระชาย ชะเอมไทย เนียมหูเสือ ว่านหางจระเข้ สีเสียดเหนือ แก่นลั่นทม เป็นต้น สมุนไพรที่ส่วนใหญ่ผสมลงไปล้วนแล้วแต่ต้องการฤทธิ์ตามที่ได้กล่าวมา คือ ฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ฤทธิ์ลดการอักเสบ ฤทธิ์ฝาดสมานช่วยทำให้เหงือกแข็งแรงและช่วยรักษาแผล

คนทั่วไปนั้นสามารถที่จะทำยาสีฟันใช้ได้เอง จากการใช้เกลือแกงผสมผงฟู หรือผสมสารส้มสีฟัน โดยไม่ต้องใช้ยาสีฟันจากหลอด ก็ไม่มีใครว่าถ้าขยันหน่อยอาจจะไปหาสมุนไพรที่ตัวเองชอบ มาตากแห้งบดเป็นผงผสมลงไปด้วย เติมพิมเสน การบูรให้สดชื่นสบายใจลงไปด้วยก็ดีอย่างที่รู้ๆ กันองค์ประกอบของยาสีฟันคือผงขัดกับสารซักฟอก เราก็เพียงแปรงฟันให้นานหน่อย แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร

แต่ถ้าใครที่อยากใช้ยาสีฟันสมุนไพรก็หาซื้อได้มากมายหลายยี่ห้อ และล่าสุดโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ได้ทดลองพัฒนาตำรับสมุนไพรเปลือกมังคุด ใบพลู ใบฝรั่ง ใส่สารส้มและเกลือลงไปด้วย ใครเป็นแฟนสมุนไพรของโรงพยาบาลนี้ ก็ติดต่อลองหามาใช้กันดู คนที่เคยลองใช้แล้วฝากมาบอกต่อว่าสีของเนื้อยาสีฟันยี่ห้อนี้เหมาะกับท่านที่รักสมุนไพรจริงๆ
คนไทยนั้นรู้จักนำพืชพรรณธรรมชาติมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันมาแต่โบราณ การสืบสานวิธีใช้ประโยชน์เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนพันธกิจของพวกเราทุกคนในยุค "คิดใหม่ ทำใหม่"

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของพืชสมุนไพร

ความหมายของพืชสมุนไพร

คำว่า สมุนไพร ตาม พระราชบัญญัติยา หมายถึง "ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ ซึ่งยังไม่ได้ผสม ปรุง หรือเปลี่ยนสภาพ" เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปต่าง ๆ เข่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักจะนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสัตว์ หรือแร่ มีการนำมาใช้น้อย และใช้ในโรคบางชนิดเท่านั้น
พืชสมุนไพร หมายถึงพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบเป็นยารักษา โรคต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้

ความสำคัญของพืชสมุนไพร

1. ความสำคัญในด้านสาธารณสุข

พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000 ปี แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ
(1) สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัช กรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชน
(2) สนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

2. ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ

ในปัจจุบันพืชสมุนไพรจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ต่างประเทศกำลังหาทางลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรไทยไปสกัดหาตัวยาเพื่อรักษาโรคบางโรคและมีหลายประเทศที่นำสมุนไพรไทยไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทย สมุนไพรหลายชนิดที่เราส่งออกเป็นรูปของวัตถุดิบคือ กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว เปล้าน้อยและมะขามเปียกเป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการอีกมาก และในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสนใจในการศึกษาเพิ่มขึ้นและมีโครงการวิจัยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาระบบการผลิต การตลาดและการสร้างงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาคุณภาพและแหล่งปลูกสมุนไพรเพื่อส่งออก โดยกำหนดชนิดของสมุนไพรที่มีศักยภาพ 13 ชนิด คือ มะขามแขก กานพลู เทียนเกล็ดหอย ดองดึง เร่ว กระวาน ชะเอมเทศ ขมิ้น จันทร์เทศ ใบพลู พริกไทย ดีปลี และน้ำผึ้ง

ประโยชน์ของพืชสมุนไพร

  1. สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งอาจหาซื้อได้ยากในท้องถิ่นนั้น
  2. ให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน และให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่าแผนปัจจุบัน
  3. สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและ ชนบท
  4. มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน ที่ต้องสั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุลทางการค้า
  5. ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
  6. ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตำลึง
  7. ใช้ในการถนอมอาหารเช่น ลูกจันทร์ ดอกจันทร์และกานพลู
  8. ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร เช่น ลูกจันทร์ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้กรอก แฮม เบคอน
  9. สามารถปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ
  10. ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอางเพื่อเสริมความงาม เช่น ว่านหางจระเข้ ปรนะคำดีควาย
  11. ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ
  12. เป็นพืชที่สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว
  13. เป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รู้จักช่วยตนเองในการ นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ
  14. ทำให้คนเห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น
  15. ทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย

สมุนไพร มีขัอดี ข้อเสีย

" ปัจจุบันประชาชนชาวไทย ได้หันมานิยมใช้สมุนไพรกันมากขึ้น เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณในการรักษาไม่แพ้แผนปัจจุบัน ถึงแม้ว่าพืขสมุนไพรจะมีประโยชน์ แต่อาจมีโทษได้ สรุปว่า สมุนไพรมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

ข้อดีของสมุนไพร


1. สมุนไพรมีผลข้างเคียง และการแพ้ยาน้อยมาก เพราะเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้กินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยาแผนปัจจุบันมีผลข้างเคียง ได้แก่ หน้ามืด คัดจมูก ไอ และที่ร้ายแรงคือ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย

2. ความเป็นพิษ ที่เกิดจากสมุนไพร แต่ละชนิดมีน้อยมาก บางชนิดไม่มีเลย จากรายงานผลการทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพร แต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้ว

3. ไม่เสี่ยงอันตราย ต่อการใช้ยาเกินขนาด เพราะตัวยาในสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาตปริมาณยาเจือจางไม่เข้มข้น

4. สมุนไพรชิดเดียวกัน สามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง ทำให้ไม่ต้องใช้ตัวยาหลายชนิด เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันสูง ระดับไขมันในเลือดสูง การใช้สมุนไพรขนานเดียวกันก็สามมารถรักษาโรคครอบคลุมทั้ง 3 โรคได้ เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม โสน เห็ดหลินจือ เป็นต้น

5. สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง บางชนิดได้รับความสนใจ จากอุสาหกรรมยานำมาผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันแล้ว เช่น ระย่อม แป๊ะก๊วย เห็ดหลินจือ น้ำองุ่น เป็นต้น

6. ช่วยลดความฟุ่มเฟื่อย ในการใช้ยาต่างประเทศที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคาแพง เพราะ สมุนไพรหาง่าย ให้รสอร่อย เช่น น้ำลูกยอ น้ำทับทิบ น้ำองุ่น เป็นต้น

7. สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยสมุนไพรใช้เป็นยา เป็นกลวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของประเทศได้ ในแผนพัฒนาการสาธารณสุขตามแผนพัศนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบัยที่ 6กระทรวงได้กำหนดแผนการพัฒนาสมุนไพร ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐานและแผนงานยา และชีววัตถุ มีงานวิจัยและพัฒนาสมุนไพร และโครงการพัฒนาสมุนไพร เพื่อใช้เป็นยาในอุสาหกรรมผลิตยา และเศรษฐกิจโดยรวมของชาติต่อไป

8. ตอบสนองนโยบาย ของผู้บริหารกทม.(พศ.2548 )ในการกำหนดนโยบายของสำนักอนามัยให้บริการแพทย์ทางเลือกแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข และสนับสนุนนโยบายของรัฐ ที่กำหนดให้มีการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพร ให้เป็นประโยชน์แพร่หลายตามความต้องการของท้องถิ่น

ข้อเสียของสมุนไพร


1. ปัจจุบันข้อมูลการวิจัยสมุนไพรในเมืองไทยมีน้อย และไม่ต่อเนื่องเพียงพอ ที่จะต่อยอดไปสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมยาได้



2. การเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านสมุนไพรในรูป หนังสือ หรือสื่ออื่นๆ ยังมีไม่มากพอที่จะทำให้ประชาชนเกิดความนิยม ความเชื่อมั่น ในการใช้สมุนไพร



3. ความไม่สะดวกในการบริโภคยาในสมุนไพรแต่ละชนิด(ในธรรมชาติ)มีตัวยาอยู่น้อยและไม่คงตัว ทำให้ผู้บริโภคต้องบริโภคพืชสมุนไพรจำนวนมาก และนำมาปรุงใหม่ๆสดๆวันต่อวัน ซึ่งไม่สะดวกต่อผู้บริโภค บางชนิดก็หายากเป็นอุปสรรคในการใช้สมุนไพร



4. สมุนไพรบางชนิดต้องเสี่ยงกับความไม่สะอาด ปนเปื้อนจากเชื้อรา เนื่องจากกรรมวิธี ในการเก็บ หรือการผลิตไม่สะอาด และมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงได้ กรณีไม่ตรวจสอบเฝ้าระวัง วัตถุดิบที่เก็บมาให้ถูกต้อง



5. สมุนไพรบางชนิดยังโตไม่เต็มที่ เกษตรกรรีบเก็บมาขาย ทำให้ตัวยาสมุนไพรมีน้อยไม่เข้ามาตรฐานอาจทำไห้ผลในการรักษาไม่เต็มที่



6.รัฐบาลยังควบคุมมาตรฐานการผลิตสมุนไพรในโรงงานยาต่างๆไม่ทั่วถึง ทำให้ยาสมุนไพรที่วางจำหน่ายไม่ได้มาตรฐาน ขาดประสิทธิภาพในการรักษาโรค



7. ประชาชนยังไม่รู้จักต้นไม้สมุนไพรบางชนิด เพราะหายาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ทำให้เสี่ยงต่ออันตรายในการใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี



     ณ วันนี้ แพทย์และเภสัชกรแผนปัจจุบันควรตื่นตัว และตระหนักในบทบาทวิชาชีพของตนเอง ควรให้ความสำคัญต่อการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ โดยศึกษาข้อมูลอย่างชาญฉลาด รวมทั้งมีการผสมผสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ (ผลการทดลองวิจัย)เข้ากับตำรายาไทยที่มีมาแต่บรรพบุรุษโดยพิจารณาไปถึง ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย พิษภัยของสมุนไพร เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลของสมุนไพรต่างๆ ซ้ำรอยแพทย์แผนโบราณ ทำให้พบความลับใหม่ๆ ของสมุนไพร อันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต "


ขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือ

สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง 121 ชนิด รวบรวมและเรียบเรียงโดยเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิธีดูแลช่องปาก ด้วยสมุนไพร


ถ้าพูดถึงสุขภาพช่องปากแน่นอนว่าก็ดูแลกันอยู่ทุกวันอยู่แล้ว อยู่ที่แต่ละคนมีวิธีในการดูแลทำความสะอาดอย่างไร วันนี้มีวิธีดูแลช่องปากด้วยสมุนไพรมาฝากค่ะ เพื่อให้คุณมีช่องปากที่สะอาดและสุขภาพฝันที่ดีด้วยสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามบ้านเราค่ะ

1. เกลือ วิธีใช้ ใช้อมก่อนการแปรงฟันตอนเช้า จากนั้นค่อยแปรงฟันตามปกติ นอกจากเกลือจะช่วยดับกลิ่นปากได้แล้ว เกลือก็ยังสามารถช่วยลดอาการปวดฟันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2. เกลือทะเล เปลือกมะขามเทศ หัวข่าแดง วิธีใช้ นำมาต้มอย่างละ 1 ส่วน แล้วทำการกรองน้ำออก นำมาอมก่อนการแปรงฟัน แล้วบ้วนออก

3. น้ำมันมะพร้าว วิธีใช้ ให้อมน้ำมันมะพร้าวก่อนการรับประทานอาหารเช้า 2 ช้อนชา ใช้เวลาประมาณ 15 นาที แล้วบ้วนออก เพราะน้ำมันมะพร้าว จะทำให้น้ำลายไปดึงพวกเชื้อแบคทีเรียออกมาจากข้างใน และที่สำคัญห้ามกลืนลงคอ ให้บ้วนทิ้งเท่านั้น

4. ใบข่อย วิธีใช้ ให้นำเปลือกข่อยมาสักหนึ่งคืบ แล้วลอกเปลือกออก จากนั้นให้เคี้ยวๆ แล้วคายทิ้ง ส่วนกาบของข่อย ให้นำมาถูกฟัน จะทำให้ฟันขาว สะอาด

5. ใบพลู หรือ ใบฝรั่ง มีประโยชน์ ในการดับกลิ่นปาก วิธีใช้คือ น้ำใบฝรั่งมาล้างให้สะอาด จากนั้นนำใบมาเคี้ยว ๆ แล้วบ้วนทิ้ง

6. ใบชา จะใช้ในการบ้วนปาก คือน้ำใบชาไปต้ม แล้วนำน้ำที่ได้ มาใช้บ้วนปากแทนน้ำยาบ้วนปาก

7. กล้วยน้ำว้า หรือกล้วยชนิดอื่นๆ เพราะว่ากลิ่นปากของมนุษย์ ไม่ได้มาจากปากเสมอไป เพราะเจ้ากลิ่นที่ว่านี้อาจจะมาจากกระเพาะ ลำใส้ภายใน ก็เป็นไปได้ ทั้งนี้ประโยชน์ของกล้วยที่ว่า คือ ช่วยรักษา กระเพาะและลำใส้ที่มีปัญหาเบื้องต้นได้ วิธีใช้ คือ ให้ทานกล้วย 1ลูก แล้วตามด้วยการดื่มน้ำ 1 แก้ว ทำต่อเนื่อง สัก 7 วัน

8. สมอไทย ใช้ในการดับกลิ่นปาก แก้แผลร้อนใน วิธีคือ นำไปต้มกับน้ำ 1 แก้ว ใช้เวลาประมาณประมาณ 10นาที จากนั้นก็นำน้ำที่ได้ไปกรอง แล้วนำไปใช้อมบ้วนปาก

9. ก้านพลู ใช้ในการช่วยดับกลิ่นปาก ลมหายใจ หอม สะอาด สดชื่น อีกทั้งยังลดอาการปวดฟันได้อีกด้วย เพราะว่า ก้านพลูมีส่วนของน้ำมันหอมระเหย ที่มีสารลักษณะคล้าย ยาชา

10. คาดหัวแหวน เป็นสมุนไพร ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศเป็นอย่างมาก เป็นสมุนไพรจากทางภาคเหนือ วิธีใช้ คือ ให้นำคาดหัวแหวนทั้ง 5 หรือ ก้าน ใบ ดอก มาตำแล้วผสมกับเกลือ จากนั้นให้คั้น เอาแต่น้ำมาใส่ซอกฟัน เพื่อรักษาอาการปวดฟัน

11. เนื้อมะขาม ใช้ในการรักษา คราบ ชา กาแฟ วิธีใช้ คือ ใช้ขัดฟันตามความต้องการ แต่ไม่ควร ใช้ระยะยาว เพราะฤทธิ์ความเปรี้ยวของมะขาม จะทำให้เนื้อฟันของเราบางลง กร่อนลง และเกิดอาการอื่น ๆ ตามมาได้

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสมุนไพร


       ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ได้มีการบันทึกเรื่องความเป็นพิษของยาสมุนไพรจีน ไว้ในเภสัชตำรับของจีน (Chinese Pharmacopoeia) ซึ่งยาสมุนไพรจีนจำนวน 365 ชนิด มีที่มาจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ในจำนวนนี้พบว่าสมุนไพรจีน 125 ชนิด มีความเป็นพิษและทำให้เกิดอาการข้างเคียง ดังนั้นจึงควรใช้ยาสมุนไพรด้วยความระมัดระวัง คือ แนะนำให้ใช้รักษาโรคบางชนิดเท่านั้น และควรใช้ในขนาดที่ปลอดภัย เพื่อลดความเป็นพิษ ทั้งนี้ไม่ควรใช้เป็นยาเดี่ยวหรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของยาสมุนไพรจะต้องคำนึงถึงความเป็นพิษเป็นสำคัญ

            มีรายงานว่าการรับประทานยาสุมนไพรจีนชนิดหนึ่ง    เพื่อลดความอ้วน    ที่ประกอบด้วย aristolochic acid ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อไต นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ายาสมุนไพรจีนที่ประกอบด้วย aristolochic acid ซึ่งได้มาจากรากของพืช Aristolochiae fangchi (Guang fangji) ก็ทำให้เกิดพิษต่อไต ความเป็นพิษของยาสมุนไพรยังอาจเกิดขึ้นจากความหลากหลายขององค์ประกอบทางเคมีที่มีทั้งสารสำคัญที่ออกฤทธิ์เป็นยาและสารพิษ การได้รับยาเกินขนาด การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร (drug–herb interaction) การเกิดโรคร่วมกันหลายโรค (coexisting disease) และความผิดปกติในการตอบสนองต่อยาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของผู้ป่วย (idiosyncratic reaction)

            การควบคุมคุณภาพมาตรฐานยาสมุนไพร มีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์และความเป็นพิษ ซึ่งอาจเกิดจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง โลหะหนัก และจุลชีพต่าง ๆ การปลอมปนด้วยยาแผนปัจจุบัน (เช่น ยาสเตียรอยด์ และยาแก้ปวด) การพิสูจน์เอกลักษณ์ของพืชที่ผิดพลาด รวมไปถึงความไม่ถูกต้องเหมาะสมของกระบวนการผลิตยาสมุนไพรที่ประกอบด้วยขั้นตอนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว กรรมวิธีการผลิต และการตั้งสูตรตำรับ (formulation) เป็นต้น

            มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยาสมุนไพรจีนในฮ่องกง ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ซึ่งสาเหตุของความเป็นพิษดังกล่าวจะค่อนข้างซับซ้อน อย่างไรก็ตามพอที่จะสรุปได้ว่ายาใช้ยาสมุนไพรจีนมีโอกาสเกิดพิษขึ้นได้ โดยเฉพาะการนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม

            โสม (ginseng) เป็นสารสกัดสมุนไพรจีนที่รู้จักกันดี แต่การรับประทานโสมในขนาดที่สูงเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อระบบประสาทและอารมณ์ แปะก๊วย (Ginkgo biloba) มีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) จึงอาจมีความสัมพันธ์กับอาการข้างเคียงโดยเฉพาะการมีเลือดออกหรือตกเลือดผิดปกติ (spontaneous hemorrhage) ในขณะที่ฝิ่น (Papaver somniferum) ซึ่งดูเสมือนว่าจะมีความเป็นพิษสูง แต่เมล็ดของมันกลับมีอัลคาลอยด์ (opium alkaloids) ที่เป็นพิษอยู่ในปริมาณต่ำมากจนไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษอย่างรุนแรง

            จากรายงานความเป็นพิษของยาสมุนไพรจีนใน       Pharmacopoeia  of  the  People’s Republic of China ในปี  ค.ศ. 2005   พบว่า  ยาสมุนไพรจีน  59  ชนิด  ที่มาจากพืชมีความเป็นพิษ จึงต้องมีการศึกษาต่อไปถึงพิษเฉียบพลัน  และพิษเรื้อรังของยาสมุนไพรจีน   รวมถึงองค์ประกอบทางเคมีที่ทำให้เกิดพิษนั้นด้วย ตัวอย่างเช่น พืชในสปีชีส์ Aconitum ที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในยาสมุนไพรจีนมักทำให้เกิดพิษ โดยพบว่าอัลคาลอยด์ (diterpenoid alkaloids) ที่แยกได้จากพืชชนิดนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดพิษ ต่อมาพบว่า aristolochic acid เป็นสารประกอบที่เป็นพิษต่อไต จากการแบ่งกลุ่มองค์ประกอบทางเคมีของยาสมุนไพรจีนที่เป็นพิษ 59 ชนิด มีสารประกอบที่เป็นพิษจำนวน 121 ชนิด สามารถแบ่งตามกลุ่มสารได้ ดังนี้ alkaloids, terpenes, coumarins และ proteins (รูปที่ 1)
รูปที่ 1:  การแบ่งกลุ่มสารประกอบที่เป็นพิษในยาสมุนไพรจีน

            เนื่องจากความเป็นพิษที่พบในรายงานดังกล่าวข้างต้น จึงควรมีมาตรการการควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรทุกชนิด นอกจากนี้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของยาที่แตกต่างกันก็มีผลเพิ่ม  หรือลดปริมาณของสารประกอบที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพหรือสารประกอบที่ทำให้เกิดพิษ           รวมถึงความแตกต่าง          ในการนำส่งสาระสำคัญที่มีผลต่อชีวประสิทธิผลของยา (bioavailability) ในขณะที่เป้าหมายการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันจะมีผลต่อประสิทธิภาพของสารสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยาสมุนไพรมีองค์ประกอบทางเคมีที่หลากหลาย จึงยากต่อการวิเคราะห์หาชนิดของสารสำคัญที่อยู่ทั้งหมด  รวมถึงปริมาณของสารสำคัญที่มีอยู่จริง ทั้งนี้ยาสมุนไพรบางชนิดยังไม่มีการระบุชนิด และปริมาณของสมุนไพรตามความเป็นจริงด้วย โดยเฉพาะยาสมุนไพรจากจีนและอินเดีย สาเหตุหนึ่งของการปนเปื้อนในยาสมุนไพร คือ โลหะหนัก ซึ่งมีที่มาจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง เป็นต้น เคยมีรายงานว่ายาสมุนไพรจากจีนและอินเดียมีการปนเปื้อนของตะกั่ว (Pb) ปรอท (Hg) และสารหนู (As) ในระดับที่สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนด และก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อผู้บริโภค มีรายงานว่ายาสมุนไพรบางชนิดมักมีการปลอมปนด้วยยาแผนปัจจุบัน  เพื่อให้การออกฤทธิ์ดีขึ้น   ยาแผนปัจจุบันที่นิยมนำมาปลอมปนในยาสมุนไพร ได้แก่

Acetaminophen (paracetamol)
Aminopyrine
Caffeine
Carbemazepine
Chlorzoxazone
Clobetasol propionate
Dexamethasone
Diazepam
Diclofenac
Ethoxybenzamide
Fluocinolone acetonide
Glibenclamide
Hydrochlorothiazide
Hydrocortisone
Indomethacin
Mefenamic acid
Methylsalicylate
Phenacetin
Phenylbutazone
Phenytoin
Valproate

ข้อควรระวัง
         ข้อควรระวังอย่างหนึ่งในการใช้ยาสมุนไพร คือ อันตรกิริยาระหว่างยา ที่จะนำไปสู่การเกิดความเป็นพิษหรือการสูญเสียประสิทธิภาพทางการรักษา สิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอันตรกิริยาระหว่างยา คือ องค์ประกอบทางเคมีของยาสมุนไพร ที่มีผลต่อเอนไซม์ การนำส่งยา และการดูดซึมยาในระบบทางเดินอาหาร

          แปะก๊วย  เป็นตัวอย่างหนึ่งของอันตรกิริยาระหว่างยา  ที่พบในยาสมุนไพร ใบแปะก๊วย (ginkgo)      มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรค    ที่มีการทำลายของเซลล์ประสาทในสมอง (neurodegenerative disorders)  หูอื้อ (tinnitus)  ต้อหิน (glaucoma) บางชนิด  และโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) เป็นต้น  สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในใบแปะก๊วย  คือ  terpene lactones, ginkgolides A, B  และ C และ bilobabides ในปัจจุบัน ได้มีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วย  มาใช้รักษาความผิดปกติในการทำงานของสมอง   (cerebral dysfunctions)   ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมตามวัย (brain aging) และภาวะเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง (neurodegenerative dementia) อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากสารสกัดใบแปะก๊วยมีฤทธิ์ยับยั้ง  P-gp function ในหลอดทดลอง    จึงคาดว่าสารสกัดอาจมีผลต่อการดูดซึมยา   ในระบบทางเดินอาหาร มีรายงานว่า  แปะก๊วยมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกผิดปกติ (bleeding)  ยิ่งไปกว่านั้น    แปะก๊วยยังเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาบางชนิด     เช่น    warfarin    หรือ ticlopidine ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเอนไซม์ CYP2C9

          เทียนเกล็ดหอย (psyllium) ได้มาจากพืช Plantago ovata ประกอบด้วยใยอาหาร (alginate fiber)     มีส่วนช่วยในการขับถ่าย     มีฤทธิ์ลดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังมื้ออาหาร   (post-prandial glycemia)     ลดระดับคอเลสเตอรอล     และลดอาการอักเสบ อย่างไรก็ตาม    ใยอาหารจะมีผลยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร   ในระบบทางเดินอาหารด้วยกลไกการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน    (chelating mechanism)     นอกจากนี้ใยอาหารยังมีผลลดการดูดซึมยาบางชนิด  เช่น  ยาลดระดับคอเลสเตอรอล  lovastatin เป็นต้น

            จากที่กล่าวมาข้างต้น   จะเห็นได้ว่า   ยาสมุนไพรมีทั้งคุณประโยชน์และโทษ   ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ยาสมุนไพรอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้มีคำแนะนำในการใช้ยาสมุนไพรอย่างปลอดภัย ดังนี้

            1. ต้องคำนึงไว้เสมอว่ายาสมุนไพรเป็นยารักษาโรคจึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง
            2. ใช้ยาสมุนไพรตามขนาดที่กำหนด
            3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพรติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
            4. ควรปรึกษาแพทย์หรือแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังรับประทานยาสมุนไพร
            5. ระวังและหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาสมุนไพร
            6. ระวังการปนเปื้อนของสารพิษ โลหะหนัก และยาแผนปัจจุบัน
            7. ควรเลือกซื้อยาสมุนไพรจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน
            8. เมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาสมุนไพรควรหยุดใช้ทันทีและรีบไปพบแพทย์
            9. ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรในเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
 
สรุป

            ยาสมุนไพร มีองค์ประกอบทางเคมีที่ซับซ้อน จึงยากที่ทราบถึงชนิดและปริมาณของสารออกฤทธิ์ ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ การปนเปื้อนจากโลหะหนักและสารพิษ รวมทั้งการปลอมปนยาแผนปัจจุบันในยาสมุนไพร ก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญในการนำยาสมุนไพรมาใช้รักษาโรค ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค   จึงควรต้องมีการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพร  ทั้งนี้ผู้บริโภค  จะต้องคำนึงถึงข้อควรระวัง ในการนำยาสมุนไพรไปใช้รักษาโรคต่าง ๆ ด้วย 

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สารเคมีกับสมุนไพร

     เมื่อหลายวันก่อน เห็นโฆษณาในทีวีเกี่ยวกับสมุนไพรในผลิตภัณฑ์บางอย่าง โดยเนื้อหาของโฆษณานั้นบอกว่าใช้สมุนไพรเป็นองค์ประกอบ โดยไม่ใช้สารเคมี ก็เลยเป็นที่มาของบทความนี้เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับสารเคมีต่างๆ ที่หลายคนเกรงกลัวกันและมีความเข้าใจผิดอยู่ค่อนข้างมาก

      ประเด็นแรกที่ต้องทำความเข้าใจก็คือว่า การใช้สมุนไพรอะไรก็ตามหมายความว่าเราต้องการใช้ประโยชน์จากสารออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในสมุนไพรนั้น ถ้าจะถามต่อไปว่าสารออกฤทธิ์คืออะไร คำตอบก็คือเป็นสารเคมีที่มีอยู่ในสมุนไพรชนิดนั้นๆ และจะแสดงผลตามคุณสมบัติทางเคมีของสารดังกล่าว พอพูดอย่างนี้ทุกคนก็คงเห็นแล้วว่าสมุนไพรเองก็มีสารเคมีอยู่ในตัวเอง แต่เป็นสารเคมีที่เรามักชอบเรียกกันว่าเป็นสารธรรมชาติ เช่นในกระเทียมก็มีสารที่เรียกว่าอัลลิซินอยู่มาก ส่วนพริกก็มีแคปไซซิน ถ้าเป็นฟ้าทะลายโจรก็มีแอนโดรกราฟโฟไลด์ในปริมาณมาก เป็นต้น
สารที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นตามธรรมชาติ และอาจมีสรรพคุณในการรักษาหรือป้องกันโรคได้หลายอย่าง เมื่อสารเหล่านี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก็เป็นธรรมดาที่ต้องมีในปริมาณน้อย เพราะหากมีมากไปก็จะกลายเป็นอันตรายต่อตัวพืชเอง ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านเคมีจึงหาวิธีสังเคราะห์สารเหล่านี้ขึ้นมาใช้ หรือมีการศึกษาคุณสมบัติของสารเทียบกับโครงสร้างทางเคมี แล้วหาทางสังเคราะห์สารเหล่านี้หรือสารที่ใกล้เคียงขึ้นมาใช้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสารจากธรรมชาติหรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสารเคมีด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าคนทั่วไปมักจะตั้งป้อมรังเกียจสารเคมีอื่นที่เราเรียกว่า สารสังเคราะห์ เพราะเชื่อว่าเป็นอันตราย สู้สารจากธรรมชาติไม่ได้
ความเข้าใจผิดข้อนี้ค่อนข้างน่าห่วง เพราะหลายคนคิดว่าสารจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นสารจากสมุนไพรหรือสารจากพืชอื่นๆ ก็ตาม เป็นสารที่ปลอดภัย ลองมาดูว่าเป็นความจริงหรือไม่ หลายคนคงเคยเห็นหรือทราบว่าพืชบางชนิดนำมาใช้ประโยชน์โดยการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ไม่ว่าจะเป็นโล่ติ๊น (ใช้เบื่อปลา) ไพรีธรัม (ซึ่งนำมาสกัดยาฆ่าแมลงที่เรียกว่าไพรีธริน) หนอนตายหยาก หรือแม้กระทั่งยาสูบ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้เป็นพืชที่รู้จักกันดี แต่คงไม่มีใครกล้าเอามากิน เพราะรู้อยู่ว่ามีพิษ และคงเคยได้ยินว่าสมุนไพรบางชนิดหากใช้เดี่ยวๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันยาวนาน ก็อาจก่อปัญหาให้ตับได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสารธรรมชาติจากพืชหรือสมุนไพร หรือสารเคมีสังเคราะห์ก็ล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานมาจากธาตุต่างๆ เหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่กระบวนการได้มาเท่านั้น เพราะฉะนั้นความเข้าใจที่ว่าสารจากธรรมชาติมีความปลอดภัยกว่าสารสังเคราะห์นั้น คงต้องทำความเข้าใจกันใหม่ ความปลอดภัยไม่ได้ขึ้นกับว่าเป็นสารธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์ แต่ว่าขึ้นอยู่กับชนิดของสารแต่ละอย่างมากกว่า
สารเคมีที่อยู่ใกล้ตัวเรา อย่างเช่นเกลือที่นำมาใส่แกง ก็จัดว่าเป็นสารธรรมชาติ หากใส่ในปริมาณพอดีก็ช่วยให้รสชาติอาหารดีขึ้น แต่หากกินมากๆ ก็รู้กันอยู่ว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายมากเช่นกัน หรืออย่างน้ำตาลทรายที่ได้มาจากอ้อย ตอนที่เป็นน้ำอ้อยก็เป็นสารจากธรรมชาติแต่พอมาผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ก็ไม่ต่างจากกระบวนการสังเคราะห์สารต่างๆ ที่เรารู้จักกัน แต่เราก็ยังกินกันได้โดยไม่ปฏิเสธ ดังนั้นหากเข้าใจเรื่องนี้และเดินสายกลางก็น่าจะดีกว่าการตั้งป้อมรังเกียจสารสังเคราะห์ทั้งหลาย เพราะว่าในชีวิตจริงคงไม่มีใครหลีกหนีสารเคมีได้พ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตามครับ!

ความรู้ประชาชน...หลายคำถามกับยาสีฟัน

ยาสีฟัน (Dentifrices) ทพญ. สาครรัตน์ คงขุนเทียน
ยาสีฟัน คือ สารที่ช่วยในการทำความสะอาดฟัน ใช้ร่วมกับการแปรงฟัน หากแปรงฟันโดยไม่ใช้ยาสีฟัน อาจทำให้ขาดความรู้สึกสดชื่นหลังการแปรงฟัน
วัตถุประสงค์ของการใช้ยาสีฟัน คือ ช่วยให้การทำความสะอาดฟันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยช่วยในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ เศษอาหาร และคราบสะสมต่าง ๆ บนตัวฟัน รวมทั้งบนลิ้นและเหงือกด้วย นอกจากนั้นยังสามารถป้องกันฟันผุ เหงือกอักเสบ ลดอาการเสียวฟัน หรือขัดคราบบุหรี่ ช่วยให้ฟันขาวได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนประกอบพิเศษที่เพิ่มเติมเข้าไปในในยาสีฟัน
องค์ประกอบหลักของยาสีฟัน ได้แก่
1. ผงขัด (abrasives) เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่ช่วยในการขัดผิวฟัน โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวฟัน แต่ทำให้เกิดพื้นผิวที่เรียบ ซึ่งจะช่วยทำให้การเกิดคราบสะสมบนตัวฟันช้าลง ปัจจัยที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผงขัด ได้แก่ ความแข็งของผงขัด ขนาดของอนุภาค และรูปร่างของอนุภาค
2. สารที่ทำให้เกิดฟอง (detergents) เป็นสารที่ช่วยแรงตึงผิว สามารถแทรกซึมและทำให้สิ่งที่
3. เกาะบนผิวฟันหลุดลอกออก ง่ายต่อการกำจัดด้วยแปรงสีฟัน ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำปฏิกิริยาได้แม้ในสภาพที่เป็นกรดหรือด่าง และมีความคงตัว
4. สารที่ทำให้เกิดการรวมตัว (binder หรือ thickeners) เป็นสารที่ป้องกันการแยกตัวขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งออกจากของเหลว ในช่วงที่เก็บรักษา ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย มีความคงตัวและเข้ากันกับองค์ประกอบอื่น ๆ ในยาสีฟันได้
5. สารรักษาความชื้น (humectant) เป็นสารที่ช่วยรักษาความอ่อนนุ่มของยาสีฟัน ป้องกันการแข็งตัวขณะที่สัมผัสอากาศ ช่วยในการคงตัวของยาสีฟัน ไม่มีพิษต่อร่างกาย
6. สารกันบูด (preservation) เป็นสารที่ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์
7. สารแต่งสี (coloring agents) เป็นสีที่เติมเข้าไปในยาสีฟัน ทำให้มีความน่าใช้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดการติดสีบนตัวฟันและเนื้อเยื่อในช่องปาก และไม่ทำให้วัสดุบูรณะเปลี่ยนสีไป สารที่ใช้ ได้แก่ สีที่ได้จากพืช
8. สารแต่งกลิ่น (flavoring agents) เป็นสารที่ทำให้ยาสีฟันมีกลิ่นหอม เพิ่มความน่าใช้ และกลบกลิ่นของสารอื่นที่ไม่พึงประสงค์ในยาสีฟัน ไม่ควรมีกลิ่นเปลี่ยนไปในระหว่างขั้นตอนการผลิตและในขณะเก็บ รวมทั้งควรเข้ากันกับองค์ประกอบอื่น ๆ ของยาสีฟันได้
9. สารให้ความหวาน (sweeteners) เป็นสารที่ให้ยาสีฟันมีรสหวาน เพื่อให้ผู้ใช้พึงพอใจ ยาสีฟันส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นยาสีฟันสำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ จะถูกปรุงแต่งให้มีรสหวานแต่ไม่ก่อให้เกิดฟันผุ เนื่องจากสารที่ให้ความหวานที่ผสมลงไป มักเป็นสารสังเคราะห์ หรือสารที่ได้จากธรรมชาติที่ไม่ทำให้เกิดฟันผุ เช่น ซอร์บิทอล (sorbitol) กลีเซอรอล (glycerol) และไซลิทอล (xylitol) เป็นต้น


ปัจจุบันนี้แบ่งยาสีฟันออกเป็นหลายประเภท ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ได้แก่
1. ยาสีฟันสำหรับป้องกันฟันผุ ยาสีฟันประเภทนี้มีส่วนผสมที่สำคัญ คือ ฟลูออไรด์ ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่สามารถยับยั้งฟันผุได้ดี คือ 1000 ส่วนในล้านส่วน (1000 ppm)
2. ยาสีฟันที่ลดการสะสมคราบจุลินทรีย์และลดการอักเสบของเหงือก ยาสีฟันชนิดนี้มักมีสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งจุลชีพผสมอยู่ ได้แก่ สารสกัดจากพืชสมุนไพรหรือน้ำมันระเหยได้จากพืช (essential oil) และ ไตรโคลซาน (triclosan) เป็นต้น
3. ยาสีฟันที่ใช้ลดอาการเสียวฟัน ส่วนผสมที่สำคัญในยาสีฟันประเภทนี้ ได้แก่ โปแทสเซียม (potassium) สตรอนเทียม (strontium) และ ฟลูออไรด์ เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟัน เนื่องจากผู้ที่มีอาการเสียวฟันมักจะละเว้นการแปรงฟันในบริเวณที่เสียวฟัน อันจะนำไปสู่การสะสมคราบจุลินทรีย์ และก่อให้เกิดโรคต่อไป
4. ยาสีฟันที่ช่วยยับยั้งการเกิดหินน้ำลายหรือหินปูน เป็นยาสีฟันที่มีสารที่ช่วยลดการสร้างผลึกแคลเซียมฟอสเฟตในคราบจุลินทรีย์ เช่น เกลือไพโรฟอสเฟต (pyrophosphate salt) เกลือของซิงค์ (zinc salt) เช่น ซิงค์คลอไรด์ (zinc chloride) หรือ ซิงค์ไนเตรท(zinc citrate) เป็นต้น
5. ยาสีฟันที่ช่วยให้ฟันขาว เป็นยาสีฟันที่ผสมสารที่ฟอกสีหรือขจัดคราบสีบนตัวฟันได้ เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) และ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogenperoxide) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารพวกซิลิกา (silica) และเซอร์โคเนียม (zirconium) ซึ่งเป็นผงขัดที่หยาบช่วยขัดฟันได้ รวมทั้งสารพวกโพลีไวนิลไพโรลิโดน (polyvinyl pyrrolidone) หรือ พีวีพี คอมเพล็กซ์ (PVP complex) ที่ทำให้คราบต่าง ๆ เช่น คราบบุหรี่ ที่ติดบนตัวฟันละลายน้ำได้ดีขึ้น ทำให้ถูกกำจัดออกได้ง่าย
6. ยาสีฟันสมุนไพร เป็นยาสีฟันที่มีองค์ประกอบเป็นสารสกัดจากพืชธรรมชาติ มักออกฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียในช่องปากได้ จึงลดอาการเหงือกอักเสบลงได้
ยาสีฟันที่มีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด มีหลายรูปแบบ ได้แก่
1. ยาสีฟันชนิดผง ยาสีฟันแบบนี้มีขนาดของผงขัดที่ค่อนข้างหยาบ หากใช้ร่วมกับการแปรงฟันที่ผิดวิธี เช่น การแปรงแบบถูไปมาในแนวนอน อาจทำให้คอฟันสึกได้
2. ยาสีฟันชนิดครีม เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีขนาดของผงขัดที่พอดี สามารถขจัดคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันได้โดยไม่ก่อให้เกิดการสึกของเคลือบฟัน
3. ยาสีฟันชนิดเจล ยาสีฟันแบบนี้มีขนาดของผงขัดที่ละเอียดกว่าแบบครีม เหมาะกับผู้ที่มีภาวะเสียวฟัน
เรื่องน่ารู้จากโฆษณา
• ยาสีฟันช่วยลดอาการเสียวฟันได้ภายใน 7 วันจริงหรือ
คำตอบก็คือ เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่ยาสีฟันที่มีโปแทสเซียมเป็นส่วนผสมจะลดอาการเสียวได้ใน 7 วัน ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกที่ทำให้รู้สึกเสียวฟัน ว่าเกิดจากการที่ท่อของเนื้อฟันหรือรากฟันเปิดออกสู่สิ่งแวดล้อม (เช่น ภาวะที่มีเหงือกร่น รากฟันโผล่) เมื่อมีสิ่งเร้า เช่น ความร้อน ความเย็น หรือ การสัมผัส มากระตุ้น จะทำให้เกิดการเคลื่อนของของเหลวที่อยู่ในท่อเนื้อฟัน ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทรับสัมผัสในตัวฟันอีกที และเกิดการส่งกระแสประสาทไปยังสมองทำให้รู้สึกเสียวฟัน การใช้ยาสีฟันชนิดนี้สามารถลดอาการเสียวฟันลงได้ โดยโปแทสเซียมซึ่งเป็นสารที่มีประจุเป็นบวกจะทำให้การส่งกระแสประสาทลดลง ทำให้อาการเสียวลดลงตั้งแต่เริ่มใช้แต่ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกได้อย่างชัดเจนภายในเวลาประมาณ 7 วัน และอาการเสียวจะลดลงเกือบทั้งหมดหลังจากใช้เป็นประจำต่อเนื่องถึงสัปดาห์ที่ 4
• มียาสีฟันที่ช่วยระงับกลิ่นปากได้ตลอดคืนจริงหรือ ทำได้อย่างไร
เมื่อคนเราตื่นนอนขึ้นมาในตอนเช้า มักรู้สึกว่ามีกลิ่นปาก ทั้ง ๆ ที่ก่อนนอนได้แปรงฟัน ทำความสะอาดฟันเป็นอย่างดีแล้ว สาเหตุที่มีกลิ่นปากนั้นเนื่องจากในช่องปากของมนุษย์มีแบคทีเรียเจริญอยู่ได้เป็นปกติ เรียกได้ว่าเป็นเชื้อประจำถิ่นในช่องปากนั่นเอง พบได้บนผิวฟัน รากฟัน ในร่องเหงือก บนวัสดุบูรณะฟัน ฟันปลอม เนื้อเยื่อในช่องปาก และลิ้น ดังนั้นแม้ว่าก่อนนอนได้แปรงฟันไปแล้ว แต่แบคทีเรียจะยังคงมีอยู่ในช่องปาก อาจอยู่ในคราบจุลินทรีย์ที่ตกค้างตามซอกฟันที่ทำความสะอาดไม่หมด หรือบนเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในช่องปาก รวมทั้งน้ำลาย ในขณะที่เรานอนหลับนั้น แบคทีเรียมิได้นอนหลับไปด้วย แต่จะเจริญเติบโตต่อไปและทำให้มีกลิ่นปาก โดยเฉพาะแบคทีเรียที่สามารถก่อให้เกิดก๊าซที่มีองค์ประกอบเป็นซัลเฟอร์ (กำมะถัน)ที่ระเหยได้ (volatile sulfur compounds) ดังนั้นยาสีฟันที่มีสารที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวได้จะสามารถลดกลิ่นที่เกิดขึ้นหลังตื่นนอนได้ แต่การใช้ยาสีฟันชนิดนี้เป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น หากผู้ป่วยมีสภาวะในช่องปากที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดกลิ่นปาก เช่น มีคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลายมาก มีวัสดุบูรณะที่ไม่ดี หรือมีแหล่งสะสมแบคทีเรียในช่องปากที่ไม่ได้รับการแก้ไข เป็นต้น ก็จะไม่สามารถกำจัดกลิ่นปากได้อย่างถาวร
• ยาสีฟันป้องกันเกิดหินน้ำลายหรือหินปูนได้อย่างไร
สารที่ช่วยยับยั้งการเกิดหินน้ำลายที่ถูกผสมในยาสีฟัน เป็นสารที่ลดการเจริญของผลึกแคลเซียมฟอสเฟตในคราบจุลินทรีย์ที่อยู่เหนือเหงือก โดยไพโรฟอสเฟตที่มีประจุลบจะไปดึงดูดกับประจุบวกของแคลเซียม ทำให้รบกวนการสร้างหินน้ำลาย เพราะไม่เกิดการสร้างแคลเซียมฟอสเฟต (calcium phosphate) ขึ้น นอกจากนั้นยังมีซิงค์ (ธาตุสังกะสี) ที่มีประจุเป็นบวก ที่สามารถจับกับประจุลบของฟอสเฟตได้ ทำให้ลดการสร้างแคลเซียมฟอสเฟตที่เป็นองค์ประกอบของหินน้ำลายได้ ยาสีฟันประเภทนี้จึงลดการเกิดหินน้ำลายได้
• ยาสีฟันบางชนิดเสริมสร้างความแข็งแรงให้ฟันได้จริงหรือ
ความแข็งแรงของฟันนั้น เริ่มตั้งแต่คนเราเริ่มมีการสร้างหน่อฟันในวัยเด็ก มีการสะสมแคลเซียมในเนื้อฟันและเคลือบรากฟันจากภายใน มิใช่มีการเสริมสร้างเพิ่มเติมมาในภายหลัง ดังนั้นการใช้ยาสีฟันที่ทำให้มีการตกผลึกเป็นฟลูออโร-อะพาไทท์จึงไม่ได้ทำให้ฟันแข็งแรงจากเนื้อในของฟัน


ผู้ประกาศ : คณะทำงานการสื่อสารกับประฃาฃน
แก้ไขล่าสุด : 06 กุมภาพันธ์ 2552